วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด บทที่ 3 การประมวลผลข้อมูล





แบบฝึกหัด
บทที่ 3  การประมวลผลข้อมูล

 ตอนที่ 1

2. ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิต่างกันอยา่างไร
      ตอบ     ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)  เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งกำเนิดข้อมูลโดยตรง  เป็นการค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง  จากการสัมภาษณ์  สอบถาม  แต่ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  เป็นข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้วสามารถนำมาใช้งานได้ทันที
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
7. อธิบายความหมายของ "เขตข้อมูล (Field)"
      ตอบ      เขตข้อมูล คือ กลุ่มของอักขระทีสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปที่นำมารวมกันแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ฟิลด์แต่ละฟิลด์ยังแยกออกเป็นประเภทข้อมูล ซึ่งจะบ่งบอกว่าในเขตฟิลด์นั้นบรรจุข้อมูลประเภทใดไว้ สามารถแยกประเภทของฟิลด์ได้เป็น 3 ประเภทคือ

          - ฟิลด์ตัวเลข (numeric field) ประกอบด้วย อักขระที่เป็นตัวเลข ซึ่งอาจเป็นเลขจำนวนเต็มหรือทศนิยมและอาจมีเครื่องหมายลบหรือบวก เช่น ยอดคงเหลือในบัญชีเป็นกลุ่มของตัวเลข

          - ฟิลด์ตัวอักษร (alphabetic field) ประกอบด้วย อักขระที่เป็นตัวอักษรหรือช่องว่าง (blank) เช่น ชื่อลูกค้าเป็นกลุ่มของตัวอักษร

          - ฟิลด์อักขระ (character field หรือ alphanumeric field) ประกอบด้วย อักขระซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น ที่อยู่ของลูกค้า
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
9. วิธีจัดการแฟ้มข้อมูลแบบใดเข้าถึงข้อมูลได้เร็วที่สุด  เพราะเหตุใดและมีประโยชน์อย่างไร  ยกตัวอย่าง
     ตอบ     การประมวลผลแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  เพราะทุกๆ ระเบียนถูกจัดการแบบเรียงลำดับโดยใช้ฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งเป็นฟิลด์หลัก  ประโยชน์ของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  คือ  เป็นวิธีการจัดการข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  เหมาะสำหรับจำนวนข้อมูลที่มีปริมาณมากและประมวลผลเป็นครั้งคราว  แต่วิธีนี้จะช้ามากเกินไปสำหรับโปรแกรมที่ต้องการการปรับปรุงหรือการตอบสนองโดยทันที  ตัวอย่างเช่น  การนำระเบียนเงินเดือนไปปรับปรุงรายการในแฟ้มเงินเดือนใช้หมายเลขประกันสังคมของลูกจ้างเป็นคีย์หลัก
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตอนที่ 3


ข้อ 1.  ตอบ     Process คือ การประมวลผลข้อมูล การกำหนดค่า การโยกย้ายข้อมูล หรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์
ข้อ 2.  ตอบ     Input/Output (I/O) คือ หน่วยรับหรือแสดงข้อมูลโดยไม่ระบุอุปกรณ์
ข้อ 3.  ตอบ     Terminal, Interrupt คือ แสดงจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุดของโปรแกรม
ข้อ 4.  ตอบ    Display คือ แสดงผลจอทางภาพ
ข้อ 5.  ตอบ     Printer คือ แสดงผลทางเครื่องพิมพ์
ข้อ 6.  ตอบ     Decision คือ กำหนดเงื่อนไข ทางเลือก การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์เพื่อการตัดสินใจ
ข้อ 7.  ตอบ     Predefined Process คือ โปรแกรมย่อยหรือโมดูล เริ่มทำงานหลังจากจบคำสั่งในโปรแกรมย่อยแล้วจะกลับมาทำคำสั่งต่อไป
ข้อ 8.  ตอบ     Preparation คือ การเตรียมทำงานลำดับต่อไป
ข้อ 9.  ตอบ     Connector คือ จุดเชื่อมต่อผังงานในหน้าเดียวกัน
ข้อ 10. ตอบ     Off page Connector คือ จุดเชื่อมต่อผังงานที่อยู่ต่างหน้ากัน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฝึกหัดบทที่ 4 การวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน


แบบฝึกหัดบทที่ 4
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน

ตอนที่ 1

ข้อ 2. อธิบายความหมายของ “การวิเคราะห์ระบบ”
ตอบ     หมายถึง กระบวนการเกี่ยวกับการศึกษาระบบที่มีอยู่แล้ว เพื่อกำหนดวิธีการทำงานและวิธีการที่ผู้ใช้ต้องการ การวิเคราะห์ระบบเป็นการวางแผนงาน การทำงานเพื่อปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น การวิเคราะห์ รวมถึงการสำรวจ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่ทำอยู่แล้วและผู้ใช้ระบบ

ข้อ 3. วงจรการพัฒนาระบบมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ     มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
          1. ขั้นเตรียมการ สำรวจ กำหนดปัญหา
          2. การวิเคราะห์ ทำความเข้าใจกับระบบเดิม
          3. การออกแบบ การวางแผนออกแบบระบบใหม่
       4. การพัฒนา การทำงานเพื่อให้ได้ระบบงานใหม่ตามที่ออกแบบไว้
          5. การนำไปใช้ การเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่

ข้อ 7. แผนภาพกระแสข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ     เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนระบบใหม่ แสดงถึงหน้าที่ของระบบซึ่งมีความสำคัญและมีความสลับซับซ้อนมาก แสดงให้เห็นถึงการไหลของข้อมูลตลอดทั้งระบบ การเขียนแผนภาพกระแสข้อมูลอย่างละเอียดจะทำให้การออกแบบระบบทำได้ง่ายขึ้น

ตอนที่ 3

ข้อ 1.  ตอบ     Process คือ การประมวลผลข้อมูล การกำหนดค่า การโยกย้ายข้อมูล หรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์
ข้อ 2.  ตอบ     Input/Output (I/O) คือ หน่วยรับหรือแสดงข้อมูลโดยไม่ระบุอุปกรณ์
ข้อ 3.  ตอบ     Terminal, Interrupt คือ แสดงจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุดของโปรแกรม
ข้อ 4.  ตอบ    Display คือ แสดงผลจอทางภาพ
ข้อ 5.  ตอบ     Printer คือ แสดงผลทางเครื่องพิมพ์
ข้อ 6.  ตอบ     Decision คือ กำหนดเงื่อนไข ทางเลือก การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์เพื่อการตัดสินใจ
ข้อ 7.  ตอบ     Predefined Process คือ โปรแกรมย่อยหรือโมดูล เริ่มทำงานหลังจากจบคำสั่งในโปรแกรมย่อยแล้วจะกลับมาทำคำสั่งต่อไป
ข้อ 8.  ตอบ     Preparation คือ การเตรียมทำงานลำดับต่อไป
ข้อ 9.  ตอบ     Connector คือ จุดเชื่อมต่อผังงานในหน้าเดียวกัน
ข้อ 10. ตอบ     Off page Connector คือ จุดเชื่อมต่อผังงานที่อยู่ต่างหน้ากัน


วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบและกิจกรรมการฝึกทักษะ บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


แบบทดสอบและกิจกรรมการฝึกทักษะ 
บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ตอนที่1


1.ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญกี่ส่วน อะไรบ้าง
   ตอบ.     3 ส่วน    1.อาร์ดแวร์
                               2.ซอฟต์แวร์
                               3.บุคลากร

3.หน่วยรับโปรแกรมและข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท อะไรบ้าง
   ตอบ.     1.อุปกรณ์แบบธรรมดา
                2.อุปกรณ์แแบบพิเศษ
                3.อุปกรณ์รับข้อมูลโดยตรง

5.หน่วยความจำขนาด 4 GB มีความจุกี่ไบต์
   ตอบ.    429,4967,296  ไบต์

6.RAM คืออะไร
   ตอบ.    หน่วยความจำชั่วคราวเป็นหน่วยจัดเก็บโปรมแกรมและข้อมูลในระหว่างการทำการประมวลผล

9.ROM ต่างจาก RAM อย่างไร มีกี่ชนิด ชนิดใดนำไปใช้กับระบบ POS
   ตอบ.    POM เป็นหน่วยความจชนิดอ่านได้อย่างเดียวเท่านั้น ส่วน RAM เป็นหน่วยความจำชัางคราวเป็นหน่วยจัดเ้ก็บดปรแกรมและข้อมูลในระหว่างการประุมวลผล มี 3 ชนิด  ได้แก่
                        1. PROM
                        2. EPROM
                        3.EEPROM ชนิดที่นำไปใช้กับระบบ POS คือ EEPROM

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตอนที่ 3.

 1.ซอฟต์แวร์คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ.    โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหนต้าที่สั่งให้ส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ทำงานได้โดยอัตโนมัติ มี 2 ประเภท ได้แก่ 1.ซอฟต์แวร์ระบบ 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์

3.โปรแกรมประเภทฟรีแวร์ แชร์แวร์ เฟรร์มแวร์ เป้นอย่างไร
    ตอบ.    โปรแกรมที่ช่วยอเำนวยความสะดวกในการทำงานได้หลายงานไม่ต้องเรียงดปรแกรมขึ้นมาใหม่ เพียงเรียนรู้การใช้งานเท่านั้น จะช่วยในการทำงานได้หลายงาน

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือ สารสนเทศ ต่างกันยังไง?


ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือ สารสนเทศ ต่างกันยังไง?

          ความหมายของข้อมูล
     ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไพโรจน์ คชชา, 2542)

     พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ

     ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อยู่ในรูปของตัวเลขหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลข้อมูล (มนตรี ดวงจิโน, 2546)

" กล่าวโดยสรุป ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล"

          ลักษณะข้อมูล
               1. ข้อมูลที่คำนวณไม่ได้ ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ รหัสประจำตัว
               2. ข้อมูลที่คำนวณได้ ได้แก่ ตัวเลขที่มีความหมายในการคำนวณ


          ประเภทของข้อมูล
               1. ข้อมูลเพื่อการวางแผน หมายถึง ข้อมูลที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนงานการบริหาร ใช้ในการควบคุม การตัดสินใจ โดยได้มีการสรุปเป็นหมวดหมู่เป็นตาราง มีการคำนวณ จัดเรียงลำดับ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สารสนเทศ
               2. ข้อมูลการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
               3. ข้อมูลอ้างอิง หมายถึง ข้อมูลที่เก็บไว้สำหรับอ้างอิง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          ความหมายของสารสนเทศ
     สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (ไพโรจน์ คชชา, 2542)

     สารสนเทศ (Information) หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (มนตรี ดวงจิโน, 2546)

     วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมาย สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ
        1. ให้ความรู้
        2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
        3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
        4. สามารถประเมินค่าได้

" กล่าวโดยสรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้" 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          ความหมายของระบบสารสนเทศ
     ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์

     วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมายของ ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับ
สูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูลตังต่อไปนี้
        1. รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ซึ่งจำเป็นต่อหน่วยงาน
        2. จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้
        3. จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
        4. มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอ เพื่อให้อยู่ในภาพที่ถูกต้องทันสมัย

     ขบวนการที่ทำให้เกิดสารสนเทศเรียกว่า “การประมวลผลสารสนเทศ” (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Information Technology : IT)

     แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ
        1. ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน
        2. ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆ

     ประโยชน์ของสารสนเทศ
        1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
        2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
        3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
        4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
        5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน

     แนวทางในการจัดทำระบบสารสนเทศ
        1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
        2. การตรวจสอบข้อมูล
        3. การประมวลผล
        4. การจัดเก็บข้อมูล
        5. การวิเคราะห์
        6. การนำไปใช้



ขอบคุณข้อมูลจาก : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จอCRT, LCD, LEDและ OED แตกต่างกันอย่างไร?


จอCRT, LCD, LEDและ OED แตกต่างกันอย่างไร?

          จอภาพเป็นอุปกรณ์ต่อเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว เพื่อเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถสื่อสารเข้าใจตรงกันได้ ซึ่งจะมีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่งทำงานควบคู่กับจอภาพ นั่นคือ การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ 
          ซึ่งจอภาพมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป เทคโนโลยีบางอย่างกำลังจะเข้ามาแทนที่ ในขณะที่เทคโนโลยีบางอย่างกำลังจะถูกกลืนแล้วก็หายไป (Technology Life Cycle) มีอะไรบ้างในช่วงของ Life Cycle จอภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง

                                                     CRT (Cathode Ray Tubes)
          เทคโนโลยีของจอแสดงผล (Display Technology) อดีตในปี ค.ศ. 1897 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน Kari Ferdinand Braun เป็นผู้ประดิษฐ์หลอดรังสีคาโธด หรือ CRT และในปี ค.ศ. 1908    Campbell Swinton ได้เสนอให้ใช้หลอด CRT สำหรับการแสดงผลภาพ ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 ได้มีการเริ่มนำ CRT มาทำจอภาพโทรทัศน์เป็นครั้งแรก โดยใช้การสแกนแนวนอน 343 เส้น และสามารถผลิตภาพได้ 30 ภาพต่อวินาที ซึ่งเพียงพอในการหลอกสายตามนุษย์ให้เป็นเป็นภาพต่อเนื่องได้โดยไม่กระตุก โดยหลักการของ CRT ซึ่งเป็นหลอดสูญญากาศนั้นทำงานโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนผ่านสนามแม่เหล็ก ซึ่งใช้ควบคุมทิศทางของลำแสงอิเล็กตรอนให้สามารถไปทางซ้าย-ขวา ขึ้นบน-ลงล่าง โดยการควบคุมผ่านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อยิงอิเล็กตรอนออกไปกระทบกับสารที่เคลือบด้านในของจอภาพ ซึ่งมีสารฟอสเฟสฉาบอยู่บนหลอดภาพ และเมื่อสารฟอสเฟสโดนแสงก็จะถูกกระตุ้นให้เปล่งแสงออกมา จุดไหนที่โดนแสงจะถูกกระตุ้นให้เปล่งแสงออกเป็นจุดๆ ซึ่งจุดนี้ก็คือจุดที่แสดงภาพขึ้นมาบนหน้าจอ จุดนี้มีชื่อเรียกว่า พิกเซล (Pixel)


จอภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มีหลักการแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ เทคโนโลยีของ CRT เป็นที่นิยมในเทคโนโลยีแสดงผลที่มีอายุเกินร้อยกว่าปี และมาตรฐานการแสดงผลที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มาจากการพัฒนาของบริษัทไอบีเอ็ม ระบบแสดงผลที่ใช้กับจอภาพมีสีเดียวที่เรียกว่า “โมโนโครม” หรือ MDA (Monochrome Display Adapter) ซึ่งจะแสดงผลที่เป็นตัวอักษรเพียงอย่างเดียวแต่ให้ความละเอียดสูง แต่คาดกันว่าในอนาคตผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะเลิกใช้จอภาพแบบ CRT ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ ประหยัดพื้นที่ และที่สำคัญคือสุขภาพสายตา เทคโนโลยีหลอดภาพที่นำมาใช้เป็นมอนิเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาตั้งแต่ CGA, EGA, VGA, XGA และในปัจจุบันกลายเป็น UXGA

LCD (Liquid Crystal Display)
ถูกคิดค้นในปี ค.ศ. 1963 จอ LCD เริ่มจากการพัฒนานำมาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอภาพที่เริ่มเข้าสู่ยุคดิจิตอล จอภาพที่มีความแบนทำให้สามารถแสดงตัวอักษรและภาพได้โดยไม่เกิดการกระพริบ (flicker) การทำงานของจอภาพ LCD นั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวดมาทำการเปลี่ยนและบังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการ ทำให้แสงสว่างที่ได้จะไม่สั่นไหวเหมือนจอภาพแบบที่ใช้หลอดภาพ ซึ่งประโยชน์ก็คือสามารถลดความเมื่อยล้าในการมองได้ ซึ่งเดิมทีจอ LCD นิยมใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแล็ปท๊อปหรือโน้ตบุ๊ค แต่ในปัจจุบันเริ่มมีปริมาณผู้ใช้จอภาพ LCD กับเครื่องเดสก์ทอปกันมากขึ้น และรวมไปถึง PDA และอาจกล่าวได้ว่าจอภาพ LCD กำลังก้าวมามีบทบาทแทนที่จอภาพแบบ CRT ซึ่งข้อดีของจอ LCD คือมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และกินไฟไม่มาก ให้ความละเอียดได้มากกว่าจอ CTR แต่ข้อเสียคือมีราคาแพงกว่าจอ CTR ส่วนในแง่ของการแสดงผล จอภาพ LCD ขนาด 15 นิ้ว สามารถให้พื้นที่การมองได้เกือบจะเท่ากับจอภพา CRT ขนาด 17 นิ้ว


จอภาพ LCD แบ่งเป็นสองเภท คือ 
• Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN) เป็นจอภาพแบบ Passive Matrix จอภาพที่มีสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง และมีการตอบสนองที่ช้ามาก ดั้งนั้นจึงมีปัญหาเวลาที่เราดูภาพยนตร์หรือเคลื่อนเมาส์เร็วๆ ทำให้เรามองภาพเป็นภาพเบลอๆ ไป ตามการเปลี่ยนภาพไม่ทัน
• Thin Flim Transistor (TFT) เป็นจอ LCD ที่ถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของจอ LCD แบบ DSTN โดยจอแบบ TFT นีเป็นแบบ Active Matrix ซึ่งได้ทำการเพิ่มเอาทรานซิสเตอร์เข้าไปเชื่อมต่อเข้ากับจอ LCD โดยทรานซิสเตอร์แต่ละตัวจะแทนแม่สี ผลที่ได้ก็ทำให้มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็วขึ้น มีความคมชัดมากขึ้น จอภาพมีสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่างและสีสันในอัตราที่สูง และจอภาพ TFT สามารถทำให้บางกว่าจอภาพแบบ LCD ปกติได้ จึงทำให้มีน้ำหนักเบากว่า


OLED (Organic Light Emitting Diodes)
เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะเข้ามาเพื่อทดแทนเทคโนโลยี LCD ค้นพบโดยบังเอิญของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ โดยพบว่าสารกึ่งตัวนำบางชนิดสามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นแสงได้ ซึ่งเรียกว่า “อิเล็กโทรลูมิเนสเซนซ์” (Electroluminescence) ซึ่งเป็นสารโพลิเมอร์ที่ให้สีต่างๆ เมื่อนำมาประกอบกันและให้พลังงานในจุดที่ต้องการก็จะเปล่งแสงประกอบกันเป็นภาพและสีตามต้องการเหมือนจอภาพ LED (Light Emitting Diodeds) OLED เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานโดยอาศัยคุณสมบัติทางนาโน คือ วัสดุอินทรีย์เปล่งแสง เพราะเป็นสารอินทรีย์นี้เราจึงสามารถประกอบอุปกรณ์ OLED บนวัสดุที่พับงอได้ จึงเกิดเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า จอภาพแบบยืดหยุ่น (Flexible Display) ซึ่งมีข้อดีคือกินพลังงานน้อยกว่า จอภาพบาง แบน เบา ให้สีคมชัด และยืดหยุ่นได้ จากข้อดีดังกล่าวทำให้นักวิจัยเร่งวิจัยและพัฒนาคือ จอภาพที่ไม่กินพื้นที่ สามารถบิดงอได้โดยไม่ทำให้จอเสียหรือภาพล้ม ซึ่งเทคโนโลยีแบบเดิมไม่สามารถสนองความต้องการนี้ได้
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี OLED มาใช้กับจอภาพคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คทำให้มีภาพเคลื่อนไหวที่ชัดเจน การแสดงผลของจอภาพ OLED แสดงผลได้เร็วกว่าจอภาพ LCD จากคุณสมบัตินี้ทำให้จอภาพ OLED จะถูกนำไปใช้กับโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่เรียกว่า 3G คือเป็นโทรศัพท์ในยุคที่สาม เพราะโทรศัพท์ประเภทนี้จำเป็นต้องแสดงภาพวิดีโอของคู่สนทนาด้วย เพราะไม่เพียงแต่จะออกแบบให้สื่อสารกับหูเท่านั้น ยังสนองความต้องการทางตาได้ด้วย ทำให้จอภาพ OLED เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ


Plasma 
จอภาพ Plasma คือ วิวัฒนาการแห่งเทคโนโลยี visual image สำหรับแสดงข้อมูลดิจิตอล ด้วยเทคโนโลยี ALIS จอภาพ Plasma ใช้หลอดขนาดเล็กบรรจุก๊าซซีนอน เลียนแบบหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ เมื่อมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดใด ก๊าซก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นพลาสมา แล้วปล่อยพลังงานออกมาในรูปของรังสีอุลตร้าไวโอเลต ซึ่งจะไปกระตุ้นสารฟอสเฟอร์ไวแสงสีต่างๆ สามสีบนผิวจอให้สว่างขึ้นมา สามารถตอบสนองต่อสัญญาณภาพได้รวดเร็ว ทำให้ภาพคมชัด มีความละเอียด และความสว่างสูง มีสีสันที่ใกล้เคียงกับสีตามธรรมชาติเป็นอย่างมาก และมีมุมมองที่คมชัดมากกว่าจอภาพแบบ LCD สามารถมองภาพได้ชัดเจนในมุมกว้างเกือบ 180 องศา เนื่องจากเทคโนโลยีของจอภาพแบบ Plasma มีความแตกต่างจากจอภาพแบบ LCD ทำให้ราคาแพงกว่าจอภาพแบบ LCD ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาที่จะเป็นที่ยอมรับในการเลือกซื้อมาใช้งานในปัจจุบัน


          มาดูข้อดีข้อเสียของจอภาพแต่ละชนิดกัน เลือกให้ตรงกับความต้องการ เพื่อจะได้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
54197

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยที่ 1





แบบฝึกหัดท้ายหน่วยที่  1
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ตอนที่ 1
1. อธิบายความหมายของ "คอมพิวเตอร์"
           ตอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ 
ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม

2. ผู้ค้นพบระบบจำนวนเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วย 0 และ 1 คือใคร
            ตอบ ค.ศ. 1673 : กอตฟริต ฟอน ไลบนิซ (Gottfried von Leibniz : 1646 - 1716) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ ชาวเยอรมัน ออกแบบเครื่องคิดเลขแบบใช้เฟืองทดเพื่อทำการคูณด้วยวิธีการบวกซ้ำ ๆ กัน

3. บิดาแห่งคอมพิวเตอร์คือใคร
            ตอบ ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) 

6. MARK I ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลกที่ทำงานโดยอัตโนมัีติทั้งเครื่องจัดเป็น Digital Computer ระบบการทำงานของเครื่องเป็นแบบใด
             ตอบ แบบกึ่งไฟฟ้า กึ่งจักร  Digital Computer 

10. เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด
             ตอบ ENIAC  (Electronic Numericial Integrator and Calculator) 


ตอนที่ 3
 1. คอมพิวเตอร์จำแนกตามขนาดได้ 4 ขนาด จงเปรียบเทียบและอธิบายความแตกต่างตามขนาดของคอมพิวเตอร์
             ตอบ คอมพิวเตอร์ทั้ง 4 ขนาด แตกต่างกันที่ความเร็ว ขนาด ราคา และการประมวลผล และหน่วยความจำของแต่ละเครื่อง

ความแตกต่างระหว่าง CPU Amd กับ CPU Intel



ความแตกต่างระหว่าง CPU Amd กับ CPU Intel
ซีพียู (CPU:Central Processing Unit) คือ หน่วยประมวลผลกลาง 
CPU นับเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณ และประมวลผลคำสั่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ สั่งผ่านโปรแกรม ต่าง ๆ ที่ เป็นโปรแกรมประยุกต์ ซีพียูนั้นจะต้องรับภาระในการควบคุมการ ทำงานของส่วนต่าง ๆ ของ เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นแป้นพิมพ์ เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์แสกนเนอร์ให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง 

แบบของซีพียู 
ซีพียู ของแต่ละบริษัทและแต่ละรุ่นจะมีรูปร่าง    ลักษณะโครงสร้างและจำนวนขาไม่เหมือนกัน  จากความแตกต่างกัน นี้เอง ซีพียูแต่ละตัวจึงใช้เมนบอร์ดไม่เหมือนกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ซีพียู สำหรับเครื่องพีซี แบบตั้งโต๊ะทั่วไป แบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ
  • ซีพียู แบบ Cartridge ซีพียูแบบนี้รูปร่างเป็นตลับแบนๆ ห่อหุ้มด้วยกล่องพลาสติกสี่เหลี่ยมด้านล่างจะเป็นแผงขาสัญญาณของซีพียู   สำหรับ เสียบลงในช่องแบบ สล๊อต (Slot) โดยซีพียูแบบ Cartridge ยังแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีก 3 แบบ   ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท ผู้ผลิตและรุ่นซึ่งใช้เสียบแทนกันไม่ได้ ซีพียูแบบนี้มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่าแบบ SECC  (Single Edde Connector Cartridge)  
  • ซีพียู แบบ PGA  ซีพียูแบบนี้รูปร่างเป็นชิปแบนๆ มีขาจำนวนมากอยู่ใต้ตัวซีพียู สำหรับเสียบลงในช็อคเก็ตจึงเรียก ว่า PGA    และสามารถ แบ่งออกเป็นแบบย่อยๆ ได้อีก 3 แบบ เช่นกัน ซึ่งใช้เสียบแทนกันไม่ได้ มีดังนี้ -  Socket  7  ใช้กับซีพียูรุ่นเก่า เช่น Pentium MMX , AMD K5, K6  มีจำนวนขาสัญญาณ 321 ขา -  Socket  370 พัฒนาโดย Intel ใช้กับ Pentium III, Celeron (รุ่นใหม่) และ Cyrix III มีขาสัญญาณ 370 ขา -  Socket  A พัฒนาโดย AMD เพื่อให้กับซีพียูของตนเอง ใน Athlon รุ่นใหม่และ Duron มีขาสัญญาณ 462 ขา     
บริษัทผู้ผลิต CPU
  • Intel         จากอดีตจนถึงปัจจุบันซีพียูค่ายนี้มักจะมีเทคโนโลยีการผลิตและความเร็วเหนือซีพียูจากค่ายอื่นๆโดยซีพียูตระกูลแรกที่ ใช้หมายเลขแสดงรุ่นมักจะถูกซีพียูจากค่ายอื่นเลียนแบบ โดยใช้คำว่า PR (Pentium Rate)  ตามด้วยความเร็วซีพียูเป็น MHzเนื่องจากกฏหมายลิขสิทธิ์ไม่คลอบคลุมถึงตัวเลขดังนั้นในรุ่นต่อมาอินเทล  จึงเปลี่ยนไปเรียกชื่อแทนการใช้ เลขมีดัง นี้ Pentium , Pentium MMX , Pentium Pro , Pentium III , Celeron , Pentium II , Pentium 4
  • AMD      AMD เป็นผู้ผลิตซีพียูเพียงรายเดียวของโลกที่สามารถผลิตซีพียู แข่งกับ อินเทล ได้ใกล้เคียงกันซึ่ง อินเทล มักเป็น ผู้นำทางด้านความเร็วและประสิทธิภาพ ส่วน AMD เน้นในเรื่องราคาที่ถูกกว่าในประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้ผู้ ใช้ เริ่มหันมาซื้อซีพียูของ AMD กันมากขึ้นโดยซีพียูรุ่นแรกๆ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ AMD คือรุ่น K5, K6 ส่วนรุ่น K7 หรือ  Athlon นั้นเป็นรุ่นแรกที่ AMD สามารถผลิตให้มีความเร็วและประสิทธิภาพเหนือกว่า Intel 

      AMD เป็นผู้ผลิตซีพียูเพียงรายเดียวของโลกที่สามารถผลิตซีพียู แข่งกับ อินเทล ได้ใกล้เคียงกันซึ่ง อินเทล มักเป็น ผู้นำทางด้านความเร็วและประสิทธิภาพ ส่วน AMD เน้นในเรื่องราคาที่ถูกกว่าในประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้ผู้ ใช้ เริ่มหันมาซื้อซีพียูของ AMD กันมากขึ้นโดยซีพียูรุ่นแรกๆ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ AMD คือรุ่น K5, K6 ส่วนรุ่น K7 หรือ  Athlon นั้นเป็นรุ่นแรกที่ AMD สามารถผลิตให้มีความเร็วและประสิทธิภาพเหนือกว่า ซีพียูของฝั่ง Intel

ซีพียูของทางฝั่งค่าย AMD มีดังนี้
ซีพียู AMD K5 
           นับเป็นคู่แข่งตัวแรกของเพนเทียม ซึ่งเป็นความพยายามครั้งแรกของ AMD ในการที่จะพัฒนาซีพียูของตัวเองขึ้นมา โดยที่ AMD เองก็เป็นผู้ที่ผลิตซีพียูมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ตั้งแต่ 286 368 จนกระทั่งถึง 486 แต่ซีพียูที่ AMD ผลิตในช่วงนั้นยังคงถือว่าเป็นอนุพันธ์ของ Intel อยู่ เพราะมีส่วนประกอบทางเทคโนโลยีเหมือนกัน ครั้นพอมาถึงยุคเพนเทียม เราจะได้ยินคำๆ หนึ่งที่ทาง AMD และ Cyrix บอกว่า "เราไม่ได้ Compatible กับ Intel แต่งานใดก็ตามที่ซีพียูของ Intel ทำได้ ของ AMD กับ Cyrix ก็ทำได้" อย่างไรก็ตาม กว่าที่ AMD K5 จะออกมาสู่ตลาดได้ ก็เป็นช่วงหลังที่เพนเทียมได้รับความนิยมแล้ว ชื่อ AMD รุ่น K5 จึงไม่เป็นที่รู้จักเท่าใดนัก และไม่เป็นที่นิยมด้วย (ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วราคาถูกกว่า และใช้งานได้ประสิทธิภาพเหมือน Intel)
ชื่อรุ่นของ K5 ใช้ PR (Pentium Rate) เช่นเดียวกันกับ Cyrix 6X86 (M1) และ 6X86MX (M2) รุ่นที่หาได้จาก AMD K5 คือ PR75-PR166 สิ่งที่แตกต่างก็คือ PR100 ก็คือ CPU 100 MHz และ PR166 ก็คือซีพียูความเร็ว 166 MHz ไม่เหมือน Cyrix 6x86MX ที่ PR233 จะเป็นซีพียูที่มีความเร็ว 200 MHz
  รูปซีพียูAMD K5


ซีพียู AMD K6
          ซีพียูรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกในพัฒนาการของซีพียูรุ่นที่ 6 ของ AMD และได้ใส่ความสามารถ MMX เข้าไปด้วย ทำให้เมื่อเทียบชั้นกับ Pentium รุ่นที่เป็น MMX แล้วจะเหนือกว่าเล็กน้อย โดยภาพนอกยังคงใช้บัส 66 MHzและแคชขนาด 256 KB ถึง 1 MB แต่ความถี่ของสัญญาณนาฬิกาที่ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 166,200,233 และ 266 MHz ส่วนเมนบอร์ด ซ็อคเก็ต และชิปเซ็ตที่ใช้จะเหมือนกันกับ Pentium ทุกประการ

  รูปซีพียูAMD K6



ซีพียู AMD K6-2
          ซีพีรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ AMD ใส่คำสั่งแบบ 3Now! เข้าไปใน K6 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลคำสั่งที่มีข้อมูลจำนวนมาก เช่นการคำนวณทางด้านสามมิติ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากชุดคำสั่งแบบ MMX (ที่คอมแพตติเบิลกับของ Intel) ซึ่งมีอยู่แล้วใน K6 นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ใช้บัส 100 MHz และ ซ็อคเก็ตแบบ Socket 7 หรือ Super 7 แต่อย่างไรก็ตาม K6-2 ยังคงใช้แคชระดับสองอยู่ภายนอกซีพียู โดยมีขนาด 512 KB, 1 MB หรือ 2 MB ซึ่งต้องทำงานที่ความเร็วเดียวกันกับบัสภายนอก ทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร หลังจากนั้นไม่นาน AMD ก็ออก K6-3 ที่มีแคชระดับสองอยู่ในตัว ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้น แต่ K6-2 ก็ยังคงมีอยู่มากมายหลายรุ่นราคาถูกมา ๆ เหมาะสำหรับู้ต้องการเริ่มต้นซื้อเครื่องที่ลงทุนน้อยแต่ได้คุณภาพสูงพอสมควร ความเร็วของซีพียูรุ่นนี้มีตั้งแต่ 300 MHz ขึ้นไปจนถึง 457 MHz

  รูปซีพียู AMD K6-2
ซีพียู AMD K6-3
     ซีพียูรุ่นนี้เป็นการนำเอารุ่นเดิมคือ K6-2 มาเพิ่มแคชระดับสองขนาด 256 KB เข้าไปในชิป และเพิ่มความสามารถในการรองรับแคชระดับสามที่อยู่ภายนอก (บนเมนบอร์ด) ได้อีกด้วย ทั้งขนาด 512 KB, 1 MB และ 2 MB ส่วนแคชระดับหนึ่งมี 32 KB แบบสองทาง บัสที่ใช้มีความถี่ 100 MHz ใช้ซ็อคเก็ตแบบ Super 7 และมีชุดคำสั่ง MMX กับ 3Dnow! เช่นเดียวกันกับ K6-2 ความเร็วของซีพียูรุ่นนี้มีเพียง 400 และ 450 MHz เท่านั้น ประสิทธิภาพที่ได้ก็ใกล้เคียงกับ Pentium II ที่ใช้ความถี่เท่ากัน แต่อาจต่ำกว่าเล็กน้อย
  รูปซีพียู AMD K6-3


ซีพียู 
AMD Athlon
        ซีพียู Athlon ของ AMD หรือที่เดิมใช้ชื่อว่า K7 เป็นซีพียูตัวแรกของ AMD ที่ออกมานำหน้า Intel คือมีโครงสร้างที่ล้ำสมัยกว่า และมีความเร็วในทุก ๆ ด้านเหนือกว่าซีพียูรุ่นที่ Intel มีอยู่ในท้องตลาด ณ ขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านของหน่วยประมวลผลเลข floating point ซึ่ง AMD ไม่เคยทำได้เร็วเท่าของ Intel เลย
      แต่คราวนี้ก็ล้ำนำหน้าไปแล้วด้วยเช่นกัน ส่วนราคาก็ยังคงต่ำกว่าของ Intel อยู่เสมอเมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นอื่น ๆ รุ่น 500, 550 และ 600 MHz แต่ปัจจุบันได้ไปถึง 850 MHz แล้ว ซึ่ง Athlon รุ่นแรก ๆ จะผลิตโดยเทคโนโลยีการผลิตแบบ 0.25 ไมครอน แต่ในรุ่นหลังซึ่งมีความถี่สูงขึ้นก็ได้ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการปลิตไปเป็น 0.18 ไมครอน เหมือนกับที่ ใช้ใน Pentium I
   รูปซีพียู AMD Athlon


ซีพียู AMD Duron

       ซีพียู Duron ของ AMD โพรเซสเซอร์ AMD Duron รุ่นใหม่นี้ สนับสนุนระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP ทั้งยังประกอบด้วยเทคโนโลยี AMD PowerNow! ซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ นอกจากนั้น ยังให้ประสิทธิภาพที่โดดเด่นในการรันซอฟต์แวร์ชั้นนำที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ด้านมัลติมีเดีย หรือแอพพลิเคชันสำหรับใช้งานในออฟฟิศ   ซีพียู Duron นั้นเร็วกว่า Celeron อยู่ถึง 20-40% ที่สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน
       Duron นั้นใช้การติดต่อของบัสที่มีความกว้างของการถ่ายข้อมูลมากกว่า Celeron ถึง 3 เท่า. ซึ่ง Duron นั้นติดต่อกับระบบในแบบ 100MHz ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ 2 เท่า (double-pumped) ในขณะที่ Celeron นั้นติดต่อที่ 66MHz และเป็นแบบ 'single-pumped'
  รูปซีพียู AMD Duro

ซีพียู (CPU) Intel</title="permanent></h1> <div class="article" style="padding: 0px 10px; margin: 0px 10px 10px; font-size: 14px; color: rgb(60, 60, 60); font-family: tahoma;"> <p style="margin-right: 10px; margin-bottom: 10px; margin-left: 10px; padding: 0px 10px; line-height: 1.7em;"> <span style="padding: 0px; margin: 0px; color: rgb(255, 0, 255);">ซีพียู คืออะไร ?</span>ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะ<span id="more-324" style="padding: 0px; margin: 0px;"></span></p> <p style="margin-right: 10px; margin-bottom: 10px; margin-left: 10px; padding: 0px 10px; line-height: 1.7em;"> <a href="http://buddy2u.com/wp-content/uploads/2010/09/3.jpg" style="padding: 0px; margin: 0px; color: rgb(37, 125, 166);"><img src="http://buddy2u.com/wp-content/uploads/2010/09/3-300x228.jpg" alt="CPU" title="CPU" width="400" height="328" class="aligncenter size-medium wp-image-808" style="padding: 0px; margin: 10px; border: 0px;"></a></p> <p style="margin-right: 10px; margin-bottom: 10px; margin-left: 10px; padding: 0px 10px; line-height: 1.7em;"> เป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น<br style="padding: 0px; margin: 0px;"><span style="padding: 0px; margin: 0px; color: rgb(255, 0, 255);">CPU ทำหน้าที่อะไร</span><br style="padding: 0px; margin: 0px;">CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้<br style="padding: 0px; margin: 0px;">สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที</p> <p style="margin-right: 10px; margin-bottom: 10px; margin-left: 10px; padding: 0px 10px; line-height: 1.7em;"> <span style="padding: 0px; margin: 0px; color: rgb(255, 0, 255);">กลไกการทำงานของซีพียู</span><br style="padding: 0px; margin: 0px;">การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล<br style="padding: 0px; margin: 0px;">กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น</p> <p style="margin-right: 10px; margin-bottom: 10px; margin-left: 10px; padding: 0px 10px; line-height: 1.7em;"> <span style="padding: 0px; margin: 0px; color: rgb(255, 0, 255);"> ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู</span><br style="padding: 0px; margin: 0px;"> ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป<br style="padding: 0px; margin: 0px;">คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้</p> <p style="margin-right: 10px; margin-bottom: 10px; margin-left: 10px; padding: 0px 10px; line-height: 1.7em;"> • รีจิสเตอร์<br style="padding: 0px; margin: 0px;">• หน่วยความจำภายนอก<br style="padding: 0px; margin: 0px;">• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)<br style="padding: 0px; margin: 0px;">• บัส<br style="padding: 0px; margin: 0px;">• หน่วยความจำแคช<br style="padding: 0px; margin: 0px;">• Passing Math Operation</p> </div> </td></tr> </tbody></table> <p style="margin-bottom: 1.5em; text-align: start; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> <img class="alignnone size-full wp-image-4560" title="gaming-cpu-hierarchy-chart-intel-amd-march-2012" src="http://www.manacomputers.com/wp-content/uploads/2012/04/gaming-cpu-hierarchy-chart-intel-amd-march-2012.jpg" alt="" width="250" style="margin: 30px; padding: 0px; border: none; outline: 0px; max-width: 100%;"><br>ตื่นเช้ามาวันนี้ พบข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังต้องการหาซีพียูแรงๆ เพื่อเอาไว้ใช้เล่นเกมส์ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ <strong style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><span style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; color: rgb(14, 93, 185);">“เปรียบเทียบความแรงซีพียู Intel vs AMD สำหรับเล่นเกมส์”</span></strong> ซึ่งทางมานาคอมพิวเตอร์เลยอยากเอามาแจ้งไว้ให้กับผู้ที่สนใจครับ</p> <p style="margin-bottom: 1.5em; text-align: start; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> สำหรับตารางเปรียบเทียบความแรงซีพียู Intel vs AMD สำหรับเล่นเกมส์นี้ จะเป็นการเปรียบเทียบจากซีพียูที่มีความแรงจากมากไปหาน้อยของแต่ละค่าย และเป็นการเปรียบเทียบของทั้งสองค่ายว่า ความแรงของซีพียูรุ่นไหนที่แรงใกล้เคียงกันบาง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่กำลังมองหาซีพียูใหม่ สามาารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นครับ</p> <p style="margin-bottom: 1.5em; text-align: start; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> ยกตัวอย่างเช่น ซีพียูของ Intel รุ่นเหล่านี้</p> <p style="margin-bottom: 1.5em; text-align: start; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> Core i7-860, -920, -930, -940, -950<br>Core i5-750, -760, -2405S, -2400S<br>Core 2 Extreme QX9775, QX9770, QX9650<br>Core 2 Quad Q9650</p> <p style="margin-bottom: 1.5em; text-align: start; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> </p> <p style="margin-bottom: 1.5em; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> จะมีความแรงพอๆ กับซีพียูของ AMD รุ่นเหล่านี้ครับ</p> <p style="margin-bottom: 1.5em; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> FX-4170<br>Phenom 1100T BE, 1090T BE<br>Phenom II X4 Black Edition 980, 975</p> <p style="margin-bottom: 1.5em; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> โดยข้อมูลเหล่านี้อัพเดทล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2555 นะครับ</p> <div class="table-wrapper" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> <table class="editorTblTableleft editorTblSize100 editorTblStyleStyle2" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; font-size: 14px; width: 738px; border-collapse: collapse;"><tbody style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"> <tr class="tblEven" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><th colspan="2" style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px; text-align: center;"><span style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; color: rgb(0, 0, 255);">Gaming CPU Hierarchy Chart</span></th></tr> </tbody><tbody style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><th style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px; text-align: center;"><span style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; color: rgb(14, 93, 185);">Intel</span></th><th style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px; text-align: center;"><span style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; color: rgb(0, 128, 0);">AMD</span></th></tr> </tbody><tbody style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"> <tr class="tblEven" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core i7-2600, -2600K, -2700K, -3820, -3930K, -3960X<br>Core i7-965, -975 Extreme, -980X Extreme, -990X Extreme<br>Core i5-2550K, -2500K, -2500, -2450P, -2400, -2380P, -2320, -2310, -2300</td><td bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;"></td></tr> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core i7-980, -970, -960<br>Core i7-870, -875K<br>Core i3-2100, -2105, -2120, -2125, -2130</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;"></td></tr> <tr class="tblEven" bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core i7-860, -920, -930, -940, -950<br>Core i5-750, -760, -2405S, -2400S<br>Core 2 Extreme QX9775, QX9770, QX9650<br>Core 2 Quad Q9650</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">FX-4170<br>Phenom 1100T BE, 1090T BE<br>Phenom II X4 Black Edition 980, 975</td></tr> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Extreme QX6850, QX6800<br>Core 2 Quad Q9550, Q9450, Q9400<br>Core i5-650, -655K, -660, -661, -670, -680<br>Core i3-2100T, -2120T</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">FX-8150, -6200<br>Phenom II X6 1075T<br>Phenom II X4 Black Edition 970, 965, 955</td></tr> <tr class="tblEven" bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Extreme QX6700<br>Core 2 Quad Q6700, Q9300, Q8400, Q6600, Q8300<br>Core 2 Duo E8600, E8500, E8400, E7600<br>Core i3 -530, -540, -550<br>Pentium G860, G850, G840, G630</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">FX-8120, -6100, -4100<br>Phenom II X6 1055T, 1045T<br>Phenom II X4 945, 940, 920, 910, 910e, 810<br>Phenom II X3 Black Edition 720, 740<br>A8-3850, -3870K<br>A6-3650, -3670K<br>Athlon II X4 645, 640, 635, 630<br>Athlon II X3 460, 455, 450, 445, 440, 435</td></tr> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Extreme X6800<br>Core 2 Quad Q8200<br>Core 2 Duo E8300, E8200, E8190, E7500, E7400, E6850, E6750<br>Pentium G620<br>Celeron G540, G530</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Phenom II X4 905e, 805<br>Phenom II X3 710, 705e<br>Phenom II X2 565 BE, 560 BE, 555 BE, 550 BE, 545<br>Phenom X4 9950<br>Athlon II X4 620, 631<br>Athlon II X3 425</td></tr> <tr class="tblEven" bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Duo E7200, E6550, E7300, E6540, E6700<br>Pentium Dual-Core E5700, E5800, E6300, E6500, E6600, E6700<br>Pentium G9650</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Phenom X4 9850, 9750, 9650, 9600<br>Phenom X3 8850, 8750<br>Athlon II X2 265, 260, 255<br>Athlon 64 X2 6400+</td></tr> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Duo E4700, E4600, E6600, E4500, E6420<br>Pentium Dual-Core E5400, E5300, E5200, G620T</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Phenom X4 9500, 9550, 9450e, 9350e<br>Phenom X3 8650, 8600, 8550, 8450e, 8450, 8400, 8250e<br>A4-3400<br>Athlon II X2 240, 245, 250<br>Athlon X2 7850, 7750<br>Athlon 64 X2 6000+, 5600+</td></tr> <tr class="tblEven" bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Duo E4400, E4300, E6400, E6320<br>Celeron E3300</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Phenom X4 9150e, 9100e<br>Athlon X2 7550, 7450, 5050e, 4850e/b<br>Athlon 64 X2 5400+, 5200+, 5000+, 4800+</td></tr> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Duo E5500, E6300<br>Pentium Dual-Core E2220, E2200, E2210<br>Celeron E3200</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Athlon X2 6550, 6500, 4450e/b,<br>Athlon X2 4600+, 4400+, 4200+, BE-2400</td></tr> <tr class="tblEven" bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Pentium Dual-Core E2180<br>Celeron E1600, G440</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Athlon 64 X2 4000+, 3800+<br>Athlon X2 4050e, BE-2300</td></tr> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Pentium Dual-Core E2160, E2140<br>Celeron E1500, E1400, E1200</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;"></td></tr> </tbody></table> <p style="margin-bottom: 1.5em; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"> ขอขอบคุณข้อมูลจาก <a href="http://www.tomshardware.com/reviews/gaming-cpu-review-overclock,3106-5.html" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; text-decoration: initial; color: rgb(34, 122, 209);">www.tomshardware.com</a></p> </div>

วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติของคอมพิวเตอร์


ประวัติและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์




ความหมายและความเป็นมา


เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า คอมพิวเตอร์ ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึงเครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด


ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึงเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์


การจำแนกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ


แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (analog computer) เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน ไม้บรรทัดคำนวณ อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณ โดยไม้บรรทัดคำนวณจะมีขีดตัวเลขกำกับอยู่ เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมรประกบรวมกัน การคำนวณผล เช่น การคูณ จะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่งแอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัด


แอนะล็อกคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่งสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว ข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศ ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำเข้าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษา


ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น


ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (digital computer) คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน จัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมด ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ แต่เป็นแบบลูกคิด โดยแต่และหลักของลูกคิดคือ หลักหน่วย หลักร้อย และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นระบบเลขฐานสินที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถ้าเก้าไปสิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน


ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือเลขศูนย์กับเลขหนึ่งเท่านั้น โดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบที่เราใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเป็นเลขฐานสองอยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย


จากอดีตสู่ปัจจุบัน


พัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้าน คอมพิวเตอร์ เมื่อ 50 ปีที่แล้วมา มีคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้งาน ต่อมาเกิดระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่เกิดขึ้นมากมาย และมีแนวโน้มการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เราสามารถแบ่งพัฒนาการคอมพิวเตอร์จากอดีตสู่ปัจจุบัน สามารถแบ่งเป็นยุคก่อนการใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์ และยุคที่เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคส์




เครื่องคำนวณในยุคประวัติศาสตร์


เครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลก ได้แก่ ลูกคิด มีการใช้ลูกคิดในหมู่ชาวจีนมากกว่า 7000 ปี และใช้ในอียิปต์โบราณมากกว่า 2500 ปี ลูกคิดของชาวจีนประกอบด้วยลูกปัดร้อยอยู่ในราวเป็นแถวตามแนวตั้ง โดยแต่ละแถวแบ่งเป็นครึ่งบนและล่าง ครึ่งบนมีลูกปัด 2 ลูก ครึ่งล่างมีลูกปัด 5 ลูก แต่ละแถวแทนหลักของตัวเลข




เครื่องคำนวณกลไกที่รู้จักกันดี ได้แก่ เครื่องคำนวณของปาสคาลเป็นเครื่องที่บวกลบด้วยกลไกเฟืองที่ขบต่อกัน เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสาตร์ชาวฝรั่งเศส ได้ประดิษฐ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2185


คอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรก ได้แก่ เครื่องจักรกลหรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อช่วยในการ คำนวณ โดยที่ยังไม่มีการ นำวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมด้วย ลำดับเครื่องมือขึ้นมามีดังนี้


ในระยะ 5,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าของตนเพื่อช่วยในการคำนวณ และพัฒนา มาใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ลูกหิน ใช้เชือกร้อยลูกหินคล้ายลูกคิด


ต่อมาประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการ คำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ซึ่งถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ใช้ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและคงยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน


พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ใช้ ช่วยการคำนวณขึ้นมา เรียกว่า Napier's Bones เป็นอุปกรณ์ที่ลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน เครื่องมือชนิดนี้ช่วยให้ สามารถ ทำการคูณและหาร ได้ง่ายเหมือนกับทำการบวก หรือลบโดยตรง


พ.ศ 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศลชื่อ Blaise Pascal ซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง 19 ปี ได้ออกแบบ เครื่องมือในการคำนวณโดย ใช้หลักการหมุนของฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุนครบ 1 รอบ ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ ทางด้านซ้ายจะถูกหมุนไปด้วยในเศษ 1 ส่วน 10 รอบ เครื่องมือของปาสคาลนี้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะชน เมื่อ พ.ศ. 2188 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากราคาแพง และเมื่อใช้งานจริงจะเกิดเหตุการณ์ที่ฟันเฟืองติดขัดบ่อยๆ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ค่อยถูกต้องตรงความเป็นจริง


เครื่องมือของปาสคาล สามารถใช้ได้ดีในการคำนวณการบวกและลบ ส่วนการคูณและหารยังไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นในปี พ.ศ. 2216 นักปราชญษชาวเยอรมันชื่อ Gottfriend von Leibnitz ได้ปรับปรุงเครื่งคำนวณของ ปาสคาลให้สามารถทหการคูณและหารได้โดยตรง โดยที่การคูณใช้หลักการบวกกันหลายๆ ครั้ง และการหาร ก็คือการลบกันหลายๆ ครั้ง แต่เครื่องมือของ Leibnitz ยังคงอาศัยการหมุนวงล้อ ของเครื่องเองอัตโนมัติ นับว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ดูยุ่งยากกลับเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น


พ.ศ. 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศลชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้ บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่ง ควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ และแบบดังกล่าวสามารถนำมา สร้างซ้ำๆ ได้อีกหลายครั้ง ความพยายามของ Jacquard สำเร็จลงใน พ.ศ. 2348 เครื่องทอผ้านี้ถือว่าเป็น เครื่องทำงานตามโปรแกรมคำสั่งเป็นเครื่องแรก


พ.ศ. 2373 Chales Babbage ถือกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2334 จบการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และได้รับตำแหน่ง Lucasian Professor ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ Isaac Newton เคยได้รับมาก่อน ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่นั้น Babbage ได้สร้างเครื่อง หาผลต่าง (Difference Engine) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณ และพิมพ์ตารางทางคณิศาสตร์อย่างอัตโนมัติ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2373 เขาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อสร้างเครื่อง Difference Engine ขึ้นมาจริงๆ




แต่ในขณะที่ Babbage ทำการสร้างเครื่อง Difference Engine อยู่นั้น ได้พัฒนาความคิดไปถึง เครื่องมือในการคำนวนที่มีความสามารถสูงกว่านี้ ซึ่งก็คอืเครื่องที่เรียกว่าเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) และได้ยกเลิกโครงการสร้างเครื่อง Difference Engine ลงแล้วเริ่มต้นงานใหม่ คือ งานสร้างเครื่องวิเคราะห์ ในความคิดของเขา โดยที่เครื่องดังกล่าวประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ

  1. ส่วนเก็บข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
  2. ส่วนประมวลผล เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์
  3. ส่วนควบคุม เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บข้อมูล และส่วนประมวลผล
  4. ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับทราบข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บ และแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณให้ผู้ใช้ได้รับทราบ


เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่อง Alaytical Engine มีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่เครื่อง Alalytical Engine ของ Babbage นั้นไม่สามารถ สร้างให้สำเร็จขึ้นมาได้ ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยี สมัยนั้นไม่สามารถสร้างส่วนประกอบต่างๆ ดังกล่าว และอีกประการหนึ่งก็คือ สมัยนั้นไม่มีความจำเป็น ต้องใช้เครื่องที่มีความสามารถสูงขนาดนั้น ดังนั้นรัฐบาล อังกฤษจึงหยุดให้ความสนับสนุนโครงการของ Babbage ในปี พ.ศ. 2385 ทำให้ไม่มีทุนที่จะทำการวิจัยต่อไป สืบเนื่องจากมาจากแนวความคิดของ Analytical Engine เช่นนี้จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่อง ให้เป็น บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์


พ.ศ. 2385 ชาวอังกฤษ ชื่อ Lady Auqusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Anatical Engine จากภาษาฝรั่งเศลเป็นภาษาอังกฤษ ในระหว่างการแปลทำให้ Lady Ada เข้าใจถึงหลักการทำงาน ของเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนรายละเอียดขั้นตอนของคำสั่งให้เครื่องนี้ทำการคำนวณที่ยุ่งยาก ซับซ้อนไว้ในหนังสือทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมแรกของโลก และจากจุดนี้จึงถือว่า Lady Ada เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก (มีภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมที่เก่แก่ อยู่หนึ่งภาษาคือภาษา Ada มาจาก ชื่อของ Lady Ada) นอกจากนี้ Lady Ada ยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรู ที่บรรจุคำสั่งไว้สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำได้ถ้าต้องการ นั่นคือหลักของการทำงานวนซ้ำ หรือเรียกว่า Loop เครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้น ทำงานกับเลขฐานสิบ (Decimal Number) แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ เลขฐานสอง (Binary Number) กับระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักของพีชคณิต


พ.ศ. 2397 นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ George Boole ได้ใช้หลักพีชคณิตเผยแพร่กฎของ Boolean Algebra ซึ่งเป็นคณิตศาสตร์ที่ใช้อธิบายเหตุผลของตรรกวิทยาที่ตัวแปรมีค่าได้เพียง "จริง" หรือ "เท็จ" เท่านั้น (ใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ 0 กับ 1 ร่วมกับเครื่องหมายในเชิงตรรกพื้นฐาน คือ AND, OR และ NOT)


สิ่งที่ George Boole คิดค้นขึ้น นับว่ามีประโยชน์ต่อระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็น การยากที่จะใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งมีเพี่ยง 2 สภาวะ คือ เปิด กับ ปิด ในการแทน เลขฐานสิบซึ่งมีอยู่ถึง 10 ตัว คือ 0 ถึง 9 แต่เป็นการง่ายกว่าเราแทนด้วยเลขฐานสอง คือ 0 กับ 1 จึงถือว่าสิ่งนี้เป็นรากฐานที่สำคัญของการ ออกแบบวงจรระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน


พ.ศ. 2423 Dr. Herman Hollerith นักสถิติชาวอเมริกันได้ประดิษฐ์เครื่องประมวลผลทางสถิติซึ่ง ใช้กับบัตรเจาะรู เครื่องนี้ได้รับการพัฒนา ให้ดียิ่งขึ้นและมาใช้งานสำรวจสำมะโนประชากร ของสหรัฐอเมริกา ในป พ.ศ. 2433 และช่วยให้การสรุปผลสำมะโนประชากรเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง (โดยก่อนหน้านั้นต้องใช้เวลาถึง 7 ปีครึ่ง) เรียกบัตรเจาะรูนี้ว่า บัตรฮอลเลอริธ และชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียกบัตรนี้ ก็คือ บัตร ไอบีเอ็ม หรือบัตร 80 คอลัมน์ เพราะผู้ผลิตคือ บริษัท IBM




การกำเนิดของเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์


เครื่องมือทั้งหลายที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาในยุคก่อนนั้นส่วนมากประกอบด้วยฟันเฟือง รอก คาน ซึ่งเป็นวัสดุ ที่มีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมากทำให้การทำงานล่าช้าและผิดพลาดอยู่เสมอ ดังนั้นในยุคต่อมาจึงพยายาม พัฒนาเครื่องมือ ให้มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ดังนี้


พ.ศ. 2480 ศาสตราจารย์ Howard Aiken แห่งมหาลัยวิทยาลัยฮาวาร์ด ได้พัฒนาเครื่องคำนวณ ตาม แนวคิด ของ Babbage ร่วมกับวิศวะกรของบริษัท IBM สร้างเครื่องคำนวณตามความคิดของ Babbage ได้ สำเร็จ โดยเครื่องดังกล่าวทำงานแบบเครื่องจักรกลปนไฟฟ้า และใช้บัตรเจาะรูเป็นสื่อในการนำเข้าข้อมูลสู่ เครื่องเพื่อทำการประมวลผล การพัฒนาดังกล่าวมาเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2487 โดยเครื่องมือนี้มีชื่อว่า MARK 1 และเนื่องจากเครื่องนี้สำเร็จได้จากการสนับสนุน ด้านการเงินและบุคลากรจากบริษัท IBM ดังนั้นจึงมีอีกชื่อ หนึ่งว่า IBM Automatic Sequence Controlled Calculator และนับเป็นเครื่องคำนวณแบบอัตโนมัติเครื่องแรกของโลก




พ.ศ. 2486 ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศูนย์วิจัยของกองทัพบกสหรัฐอเมริกามีความจำเป็นที่จะต้อง คิดค้นเครื่องช่วยคำนวณ เพื่อใช้คำนวณหาทิศทางและระยะทางในการส่งขีปนาวุธ ซึ่งถ้าใช้เครื่องคำนวณที่มี อยู่ในสมัยนั้นจะต้องใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมงในการคำนวณ การยิง 1 ครั้ง ดังนั้นกองทัพจึงให้กองทุนอุดหนุนแก่ John W. Mauchly และ Persper Eckert จากหมาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ในการสร้างคอมพิวเตอร์ จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมา โดยนำหลอดสุญยากาศ (Vacuum Tube) จำนวน 18,000 หลอด มาใช้ในการสร้าง ซึ่งมีข้อดีคือ ทำให้เครื่องมีความเร็ว และมีความถูกต้องแม่นยำในการคำนวณมากขึ้น ในด้านของความเร็วนั้น เครื่องจักกลมีความเฉื่อยของการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนประกอบ แต่คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ จะใช้อิเล็กตรอนเป็นตัวคลื่อนที่ ทำให้สามารถส่งข้อมูลด้วยกระแสไฟฟ้าได้ ด้วยความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วของแสง ส่วนความถูกต้องแม่นยำในการทำงานของเครื่องจักรกลอาศัยฟันเฟือง รอก คาน ในการทำงาน ทำให้ทำงานได้ช้า และเเกิดความผิดพลดได้ง่าย


พ.ศ. 2489 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ Mauchly และ Eckert คิดค้นขึ้นได้มีชื่อว่า ENIAC ย่อมาจาก (Electronic Numberical Integrater and Caculator) ประสบความสำเร็จในปี พ.ศ. 2489 ถึงแม้ว่าจะไม่ทันใช้ในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ความเร็วในการตำนวณของ ENIAC ทำให้วงการคอมพิวเตอร์ขณะนั้น ยอมรับความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ แต่อย่างไรก็ตาม ENIAC ทำงานด้วยไฟฟ้าทั้งหมดทำให้ในการทำงานแต่ละครั้งจึงทำให้เกิดความร้อนสูงมาก จำเป็นต้องติดตั้งไว้ในห้องที่มีเครือ่งปรับอากาศด้วย นอกจากนี้ ENIAC ยังเก็บได้เฉพาะข้อมูลที่เป็นตัวเลขขนาด 10 หลัก และเก็บได้เพียง 20 จำนวน เท่านั้น ส่วนชุดคำสั่งนั้น ยังไม่สามารถเก็บไว้ในเครื่องได้ การส่งชุดคำสั่งเข้าเครื่องจะต้องใช้วิธีการเดินสายไฟสร้างวงจร ถ้ามีการแก้ไขโปรแกรม ก็ต้องมีการเดินสายไฟกันใหม่ ซึ่งใช้เวลาเป็นวัน




ความคิดต่อมาในการพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ดีขึ้นก็คือ การค้นหาวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ในเครื่อง เพื่อลดความยุ่งยาก ของขั้นตอนการป้อนคำสั่งเข้าเครื่อง มีนักคณิตศาสตร์เชื้อสายฮังการเรียนชื่อ Dr.John Von Neumann ได้พบวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ ในหน่วยความจำของเครื่องเช่นเดียวกับการเก็บข้อมูลและต่อวงจรไฟฟ้า สำหรับการคำนวณ และการปฏิบัติการพื้นฐาน ไว้ให้เรียบร้อยภายในเครื่อง แล้วเรียกวงจรเหล่านี้ด้วยรหัสตัวเลขที่กำหนดไว้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นตามแนวความคิดนี้ได้แก่ EVAC (Electronic Ddiscreate Variable Automatic Computer) ซึ่งสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2492 และนำมาใช้งานจริงในปี พ.ศ. 2494 และในเวลาใกล้เคียงกัน ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดส์ ประเทศอังกฤษ ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายกับเครื่อง EVAC และให้ชื่อว่า EDSAC (Electronic Delay Strorage Automatic Caculator)




เครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุค


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2497-2501
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacuum tube) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยังมีขนาดใหญ่มาก ใช้กระแสไฟฟ้าจำนวนมาก ทำให้เครื่องมีความร้อนสูงจึงมักเกิดข้อผิดพลาดง่าย คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่ UNIVAC I , IBM 600




คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 (พ.ศ.2502-2507
คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กกว่ายุคแรก ต้นทุนต่ำกว่า ใช้กระแสไฟฟ้าและมีความแม่นยำมากกว่า


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 (พ.ศ.2508-2513
คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจรไอซี (Integrated Circuit) เป็นสารกึ่งตัวนำที่สามารถบรรจุวงจรทางตรรกะไว้แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลิกอน(Silicon) เรียกว่า "ชิป"


คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 (พ.ศ.2514-2523
คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจร LSI (Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิกอนชิป 1 แผ่น สามารถบรรจุได้มากกว่า 1 ล้านวงจร ด้วยเทคโนโลยีใหม่นี้ทำให้เกิดแนวคิดในการบรรจุวงจรที่สำคัญสำหรับการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์นั่นคือ CPU ลงชิปตัวเดียว เรียกว่า "ไมโครโปรเชสเซอร์"


คอมพิวเตอร์ยคุที่ 5 (พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน) 
คอมพิวเตอร์ยุคนี้ใช้วงจร VLSI (Very Large-Scale Integrated Ciruit) เป็นการพัฒนาไมโครโปรเซสเซอร์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ก่อกำเนิด ไมโครโปรเซสเซอร์


เมื่อก่อนนั้น Intel เป็นบริษัทผลิตชิปไอซี แห่งหนึ่งที่ไม่ใหญ่โตมากนักเท่าในปัจจุบัน เมื่อปี ค.ศ.1969 ได้สร้างความสะเทือน ให้กับวงการอิเล็คทรอนิคส์ โดยการออกชิปหน่วยความจำ(Memory)ขนาด 1 Kbyte มาเป็นรายแรก


บริษัทบิสซิคอมพ์(Busicomp) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องคิดเลขของญี่ปุ่ญได้ทำการว่าจ้างให้ Intel ทำการผลิตชิปไอซี ที่บิสซิคอมพ์เป็นคนออกแบบเองที่มีจำนวน 12 ตัว โครงการนี้ถูกมอบหมายให้นาย M.E. Hoff, Jr. ซึ่งเข้าตัดสินใจที่จะใช้วิธีการออกแบบชิปแบบใหม่ โดยสร้างชิปที่ให้ถูกโปรแกรมได้ หมายถึงว่า สามารถนำเอาชุดคำสั่งของการคำนวณไปเก็บไว้ใน หน่วยความจำก่อนแล้วให้ไอซีตัวนี้อ่านเข้ามาแปล ความหมาย และทำงานภายหลัง


ในปี 1971 Intel ได้นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด โดยใช้ชื่อทางการค้าว่า Intel 4004 ในราคา 200 เหรียญสหรัฐ และเรียกชิปนี้ว่าเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์(Micro Processor) ก็เพราะว่า 4004 นี้เป็น CPU (Central Processing Unit) ตัวหนึ่ง ซึ่งมีขนาด 4.2 X 3.2 มิลลิเมตร ภายในประกอบด้วย ทรานซิสเตอร์ จำนวน 2250 ตัว และเป็น ไมโครโปรเซสเซอร์ขนาด 4 บิต


หลังจาก 1 ปีต่อมา Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ ขนาด 8 บิตออกมาโดยใช้ชื่อว่า 8008 มีชุดคำสั่ง 48 คำสั่ง และอ้างหน่วยความจำได้ 16 Kbyte ซึ่งทาง Intel หวังว่าจะเป็นตัวกระตุ้นตลาดทางด้านชิปหน่วยความจำได้อีกทางหนึ่ง


เมื่อปี 1973 ทาง Intel ได้ออก ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ที่มีชุดคำสั่งพื้นฐาน 74 คำสั่งและสามารถอ้างหน่วยความจำได้ 64 Kbyte


ไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกของโลก


เมื่อปี 1975 มีนิตยสารต่างประเทศฉบับหนึ่ง ชื่อว่า Popular Electronics ฉบับเดือน มกราคม ได้ลงบทความ เกี่ยวกับเครื่อง ไมโครโปรเซสเซอร์ เครื่องแรกของโลกที่มีชื่อว่า อัลแตร์ 8800 (Altair) ซึ่งทำออกมาเป็นชุดคิท โดยบริษัท MITS (Micro Insumentation And Telemetry Systems) ลักษณะของชุดคิท ก็คือ จะอยู่ในรูปของอุปกรณ์แต่ละชิ้นโดยให้ คุณนำไปประกอบขึ้นใช้เอง




บริษัท MITS ถูกก่อตั้งเมื่อปี 1969 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำตลาดในด้านเครื่องคิดเลข แต่การค้าชลอตัวลง ประธานบริษัท ชื่อ H. Edword Roberts เห็นการไกล คิดเปิดตลาดใหม่ซึ่งจะขายชุดคิด คอมพิวเตอร์ ประมาณเอาไว้ว่าอาจขาย ได้ในจำนวนปีล่ะประมาณ 200-300 ชุด จึงให้ทิมงานออกแบบบและพัฒนาแล้วเสร็จก่อนถึงคริสต์มาส ในปี 1974 แต่เพิ่งมา ประกาศตัวในปีถัดไป สำหรับ CPU ที่ใช้คือ 8080 และคำว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ จึงถูกเรียกใช้เป็นครั้งแรกเพื่อชุดคิทคอมพิวเตอร์ชุดนี้


ชุดคิทของ อัลแตร์ นี้ประกอบด้วย ไมโครโปรเซสเซอร์ 8080 ของบริษัท Intel มี เพาเวอร์ซัพพลาย มีแผงหน้าปัดที่ติดหลอดไฟ เป็นแถวมาให้เพื่อแสดงผล รวมถึงหน่วยความจำ 256 Byte ( แหม.. เหมือนของเล่นเราในสมัยนี้ จังงง ) นอกนั้น ยังมี สล๊อต (Slot) ให้เสียบอุปกร์อื่น ๆ เพิ่มได้ แต่ก็ทำให้ MITS ต้องผิดคาด คือ ภายใน เดือนเดียว มีจดหมายส่งเข้ามาขอสั่งซื้อเป็นจำนวนถึง 4,000 ชุดเลยทีเดียว


ด้วยชิป 8080 นี่เองได้เป็นแรงดลใจให้บริษัท ดิจิตอลรีเสิร์ช (Digital Research) กำเนิดระบบปฏิบัติการ(Operating System) ที่ชื่อว่า ซีพีเอ็ม(CP/M หรือ Control Program For Microcomputer) ขึ้นมา ในขณะที่ Microsoft ยังเพิ่งออก Microsoft Basic รุ่นแรกเองน่ะ


ถึงยุค Z80 ส่ะที


เมื่อเดือน พฤศจิกายนปี 1974 ได้มี วิศวกรของ Intel บางคนได้ออกมาตั้งบริษัทผลิตชิปเอง โดยมีชื่อว่า ไซล๊อก (Zilog) เนื่องจาก วิศวกรเหล่านี้ ได้มีส่วนร่ามในการผลิตชิป 8080 ด้วยจึงได้นำเอาเทคโนโลยีการผลิดนี้มาสร้างตัวใหม่ที่ดีกว่า มีชื่อว่า Z80 ยังคงเป็น ชิปขนาด 8 บิต เมื่อได้ออกสู่ตลาดได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากได้ปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน 8080 จึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ หลายต่อหลายยี่ห้อ หันมาใช้ชิป Z80 กัน แม้แต่ซีพีเอ็ม ก็ยังถูกปรับปรุงให้มาใช้กับ Z80 นี้ด้วย *** แม้ในปัจุบันนี้ Z80 ยังคงถูกใช้งาน และนำไปใช้ ในการเรียนการสอน ไมโครโปรเซสเซอร์ ด้วย เช่น ชุดคิดหรือ Single Board Microcomputer ของ ETT, Sila เป็นต้น และ IC ตัวนี้ยังผลิตขาย อยู่ในปัจจุบัน ในราคา ไม่เกิน 100 บาท น่ะจะบอกให้)


Computer เครื่องแรกของ IBM


ในปี 1975 ไอพีเอ็ม ได้ออกเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกออกมา แต่ทางไอบีเอ็มได้เรียกเครื่องนี้ว่าเป็น เทอร์มินัลแบบชาญฉลาด ที่สามารถโปรแกรมได้ (Intelligent Programmable Terminal) และตั้งชื่อรุ่นว่า Model 5100 มีหน่วยความจำ 16 Kbyte แล้วยังมีตัวแปลภาษาเบสิก แบบอินเตอร์พรีทเตอร์ (Interpreter) ด้วย และมี ไดรฟ์สำหรับใส่คาร์ทิดจ์เทปในตัว แต่ก็ยังขายไม่ดีเอามาก ๆ เลย เพราะว่าตั้งราคาไว้สูงมากถึง 9,000 เหรียญสหัฐ


ในปลายปี 1980 บริษัทไอบีเอ็มได้เกิดแผนกเล็ก ๆ ขึ้นมาแผนกหนึ่งเรียกว่า Entry Systems Division ภายใต้ทีมของคนชื่อว่า ดอน เอสทริดจ์ (Don Estridge) และนักออกแบบอีก 12 คน โดยได้รับมอบหมายให้พัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของไอบีเอ็มโมเด็ล 5100 นั้นเอง โดยนำเอาจุดเด่นของเครื่อง ที่ขายดีมารวมไว้ในการออกแบบเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม และผลิตจำหน่ายได้ภายในปีเดียวภายใต้ชื่อว่า ไอบีเอ็มพีซี (IBM PC) ซึ่งถูกเปิดตัวในเดือน สิหาคม ปี 1981 และยอดขายของเครื่องพีซีก็ได้พุ่งอย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทอื่น ๆ จับตามอง


กำเนิด แอปเปิ้ล


ในปี 1976 หลังจาก Stephen Wozniak และ Steve Jobs ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) และได้นำเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกที่ประดิษฐ์จากโรงรถออกมาขายโดยใช้ชื่อว่า Apple I ในราคา 695 เหรียญ บริษัทแอปเปิลได้ผลิตเครื่อง Apple I ออกมาไม่มากนัก ภายในปีเดียวได้ผลิต Apple II ออกมา และรุ่นนี้เป็นรุ่นเปิดศักราชแห่งวงการไมโครคอมพิวเตอร์ และเป็นการสร้างมาตรฐาน ที่ไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เกิดมาตามหลังทั้งหมดต้องทำตาม

ข้อมูลจาก www.sanambin.com











อุปกรณ์ Input และ Output


(Input and Output Device)






หัวข้อ (Topic)


1. อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)


2. อุปกรณ์แสดงผลข้อมูล (Output Device)








1. อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล (Input Device)


Input หมายถึง การป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล โดย User จะเป็นผู้ป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่อง (input) และเครื่องจะนำไปประมวลผลเป็นข่าวสาร ซึ่งอุปกรณ์ในการนำเข้าข้อมูลมาตรฐาน ได้แก่ Mouse, Keyboard และ Scanner







Keyboard จะสร้างสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์และแปลงเป็นตัวอักษรคล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่ง Keyboard จัดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่อง ในแต่ละอุตสาหกรรมอาจมี Keyboard ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งาน 






ลักษณะการทำงานของ Keyboard ใช้ Keyboard controller เป็นตัวรับข้อมูลว่าปุ่มใด (Key) ถูกกด และจะทำการแปลงค่าสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังส่วนหนึ่งใน Keyboard buffer เพื่อบันทึกว่า Key ใดถูกกด และ Keyboard controller จะส่ง Interrupt Request ไปยัง System Software ให้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นที่ Keyboard ซึ่งKeyboard ที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน มีทั้ง Keyboard แบบปกติที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป และ Keyboard แบบพิเศษ ที่มีรูปทรงที่แปลกตา Ergonomic keyboards
ถูกออกแบบให้ลดการตึง เกร็ง การเคล็ดของข้อมือซึ่งอาจทำให้เกิด
อันตรายได้หากคุณต้องพิมพ์งานเป็นเวลานาน ๆ โดย Ergonomic keyboards 
ถูกออกแบบให้มีตำแหน่งการวางข้อมือและแขนเป็นพิเศษ



Mouse ใช้ในการเลื่อนตำแหน่งของตัวชี้ (Pointer) บนหน้าจอ โดยการขยับ Mouse เลื่อนไปมาบนโต๊ะที่มีพื้นเรียบ ซึ่งการขยับ Mouse แต่ละครั้งจะสัมพันธ์กับตำแหน่งของ Pointer บนหน้าจอ และรับคำสั่งเมื่อมีการกดปุ่มของMouse (click) ซึ่งคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ Mouse มี คำด้
วยกันคือ






การทำงานของ Mouse
มี แกน วางอยู่เป็นมุมฉากข้างลูกบอล ซึ่งแกนดังกล่าวจะเป็นแกนหมุนสัมผัสกับลูกบอลและจะหมุนเมื่อลูกบอลเคลื่อนที่ ตัวดักสัญญาณจะส่งข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ทราบว่าแกนหมุน หมุนไปมากน้อยแค่ไหนเพื่อให้คอมพิวเตอร์แปลงสัญญาณและเลื่อนตำแหน่งให้สอดคล้องกับ Mouse
Mouse จัดเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ ซึ่งอุปกรณ์ประเภทตัวชี้นี้ ไม่ได้มีเฉพาะ Mouse เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอุปกรณ์ ตัวชี้ชนิดอื่นด้วย ที่มีหน้าที่การทำงานเช่นเดียวกับ Mouse แต่รูปทรงและลักษณะนั้นแตกต่างออกไป เช่น อุปกรณ์ที่ใช้เล่นเกม อุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop หรือ Notebook


Trackball มีลักษณะคล้ายกับ mouse แต่ไม่มีแกนบังคับ ใช้การหมุนลูกบอลในการทำงาน ส่วนมากใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptop ทำงานโดยการหมุนลูกบอลโดยตรง เพื่อให้ Cursor เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการ













Joystick มีด้ามสั้น ๆ ให้จับ ควบคุมการเคลื่อนที่ของ pointer โดยใช้การกดไกปืนเพื่อทำงาน











Touchpadมีรูปทรง เหลี่ยม ใช้การกดและรับความไวของการเคาะ มีเสียงในการกดเคาะ ดังแปะ ๆ (เหมือนการClick) สามารถเลื่อน pointer ได้โดยการลูบในพื้นที่ เหลี่ยม การเลื่อน Cursor จะอาศัยนิ้วมือกดและเลื่อน เป็นอุปกรณ์ที่ติดอยู่กับ Notebook










Pointing stick เป็นลูกทรงกลมเล็ก ๆ ไวต่อการกด วางอยู่กึ่งกลาง keyboard ใช้การหมุนเพื่อควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของ pointer





Graphics tablet ใช้ปากกาควบคุมการย้ายตำแหน่ง วางอยู่บนกระดาน (Board) ส่วนมากใช้สร้างแผนงานหรือวาดบทย่อ หรือบทสรุปต่าง ๆเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเขียนแบบ ที่เราเรียกว่า “Digitizing tablet” ขนาดของตารางจะแตกต่างกัน ตารางจะมีการเชื่อมต่อสายเคเบิลเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มีการวาดภาพบนตาราง ตัวชี้บนตารางเราเรียกว่า Grid เพื่อกําหนดตําแหน่งในการป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเ
ตอร์








Touch screen จอสัมผัส เป็นได้ทั้งอุปกรณ์ Input และ Output ใช้นิ้วมือสัมผัสบนหน้าจอ จากนั้นจอภาพจะพิจารณากลุ่มข้อมูลที่ Input เข้าสู่ระบบ ส่วนมากใช้ในสถานที่ใหญ่ ๆ ที่มีคนจำนวนมาก ๆ เช่น นำตู้ ATM แบบTouch screen ไปวางในห้างสรรพสินค้าการทำงานของ Touch screen จะใช้ Membrane layer ทำหน้าที่ตรวจสอบการถูกกดบนตำแหน่งหน้าจอ โดยแต่ละแผ่นจะแยกการตรวจสอบตามแกน x,y โดยมีการใช้สายไฟ เส้นlayer ละ เส้น เมื่อมีการกดหน้าจอทั้ง 2 layer จะทำการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปให้ Controller










Pen-based computing ใช้ปากกาแสง (Light Pen) ในการนำเข้าข้อมูล พบในเครื่อง PDA และ Pocket PC

การทำงาน สามารถรับข้อมูลโดยการใช้ปากกาอิเล็กทรอนิกส์เขียนลงบนหน้าจอของ PDA หรือ Pocket PC ซึ่ง หน้าจอถูกออกแบบมาให้ใช้ร่วมกับอุปกรณ์นี้โดยเฉพาะ พร้อมทั้งรับรู้ทิศทางการเคลื่อนไหวโดยใช้ความไวแสงเพื่อกําหนดตําแหน่งที่ชี้บนจอภาพ บอกได้ว่ากำลังเขียนตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ใด สามารถอ่านลายเซ็นได้









Scanner ใช้ในการอ่านอักขณะพิเศษ ตัวเลข และสัญลัษณ์ต่าง ๆ




Flatbed scanner : จะ scan ครั้งละ หน้า สามารถ scan เอกสารขนาดใหญ่ได้






- Sheetfed scanner : จะดึงกระดาษเขาไป scan ต้องกลับด้านของกระดาษ






Laser scaner : ปัจจุบันมีหลากหลายชนิดให้เลือก รวมทั้งเครื่อง Scan แบบสั่น โดยส่วนมากแล้วหากใช้งาน ณ.จุดขายหน้าร้าน (POS: Point of Sale) ก็จะต้องมีอุปกรณ์อื่นที่ต้องใช้ร่วมกัน เช่น เครื่องออกใบเสร็จ(Receipt printer) เครื่อง print bar code (Bar code printer) จอคอมพิวเตอร์ที่ใช้ร่วมด้วยจะมีขนาดเล็ก (9” VGA MONOหรือ 10” COLOR MONITOR) keyboad ที่ใช้ก็จะมีเฉพาะตัวเลข (Numeric keyboard) รวมทั้งต้องใช้เครื่องช่างน้ำหนัก ป้ายแสดงจำนวนเงิน เครื่องลงเวลา (Access Control and Time) ลิ้นชักควบคุม


(Cash Drawer) เครื่องรูดบัตรชนิดต่าง ๆ เป็นต้น




Bar Codes Readers เครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ด (Bar Code Readers) เป็นอุปกรณ์ที่นํามาใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ในการประยุกต์ใช้งานทางด้านธุรกิจ เช่น อ่านป้ายบอกราคาสินค้า เพื่อสะดวกในการคำนวณจำนวนเงิน และสามารถป้องกันความผิดพลาดที่เกิดจากการบันทึกข้อมูลของผู้ใช้ รหัส Bar code ที่ใช้ในทางธุรกิจ เราเรียกว่าUniversal Product Code (UPC) โดยจะมีขีดสัญลักษณ์ในแนวตั้งขีดเรียงกัน (Bar code) สัญลักษณ์นั้นแทนด้วยแถบสีขาวและดำที่มีความกว้างแทนค่าเป็น 1 และแคบแทนค่าเป็น 0 การอ่านข้อมูลนั้นพื้นที่ภายในแถบและช่องว่างจะทำให้เกิดความแตกต่างของการสะท้อนกลับ










<< Hand held scaner การใช้งานนั้นจะลากอุปกรณ์ผ่านรหัส Bar code เครื่องจะทํา











<< Cash Register scaner : มักพบเห็นในห้างสรรพสินค้า หรืองานที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป เช่น ใช้อ่าน Bar Code ของสินค้าหรือใช้อ่านรหัสบัตร









Optical Mark Readers (OMR) 
Magnetic Ink Character Recognition (MICR)
เครื่องอ่านหมึกแม่เหล็ก (Magnetic Ink Character Recognition : MICR) ใช้ในการประมวลผลหมายเลขรหัสเช็คของธนาคาร โดยเครื่องจะอ่านหมึกแม่เหล็กที่เป็นตัวเลข และสัญลักษณ์ ที่พิมพ์ลงบนเช็ค ใช้ตรวจสอบการลายเซ็นหรือการมอบอำนาจในการสั่งจ่ายเช็ค



Smart Cards

เครื่องอ่านบัตร Smart Cards ถูกออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ ในบัตร Smart card ประกอบด้วยไมโครชิพ ที่สามารถประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์ มีหน่วยความจําเก็บข้อมูลได้โดยไม่สูญหายไม้ไฟฟ้าดับ การใช้บัตรจะต้องสอดบัตรเข้าไปให้เครื่องอ่านบัตร และป้อนรหัสผ่านจากคีย์บอร์ด บัตรจะมีหน่วยความจําและไมโครชิพจะเก็บเรคคอร์ดไว้อย่างถาวร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อถูกใช้งาน การใช้บัตรจะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลทรานเซคชั่น ไม่ว่าจะเป็นบัตรเครดิต บัตรATM เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงเรคเคอร์ดของลูกค้าธนาคาร







Voice Input Devices
รับเสียงพูดของ User ส่งเข้าไปใน computer อุปกรณ์จะจดจำเสียง และแปลงเสียงพูดนั้นเป็นข้อมูล binary โดยอาศัยระบบรู้จำเสียง (Voice Recognition System) ซึ่งจะเปลี่ยนเสียงพูดให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยการเปรียบเทียบรูปคลื่นสัญญาณไฟฟ้าที่เปลี่ยนมาจากเสียงพูด กับรูปแบบของสัญญาณเสียงที่กําหนดไว้ ถ้าเหมือนกัน(Matching) คอมพิวเตอร์ก็จะยอมรับสัญญาณเสียงนั้น ส่วนใหญ่แล้วเสียงที่ส่งเข้าไปนั้นจะขึ้นอยู่กับ User ว่าจะพูดอะไร ระบบจะ เรียนรู้” เสียงของ User เอง ประเภทของระบบเสียงมี 2 แบบ คือ ระบบคำไม่ต่อเนื่อง จะมีการแบ่งคำของ user และระบบคำแบบต่อเนื่อง โดย User สามารถพูดได้เป็นปกติ








Digital Camera
ใช้ถ่ายภาพและจัดเก็บข้อมูลบน Chip ภาพเก็บภาพลงในคอมพิวเตอร์ และแก้ไขภาพด้วย software รวมถึงเก็บภาพไว้ในสื่อ CDs หรือ DVDs ภาพจะมีความละเอียดหลายล้าน pixels จัดเก็บและลบทิ้งจาก memory cardได้การทำงานของ Digital Camera จะมีรูรับแสงเปิดออก ภาพจะถูก Focus ผ่านเลนส์ และกระทบลงบนส่วนรับภาพที่เรียกว่า CCD CCD จะแปลงภาพที่ได้เป็นสัญญาณอนาล๊อก (Sign Analog) เพื่อนำไป ผ่าน ADC ซึ่งจะแปลงสัญญาณกลับเป็น Digital สามารถนำเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งานในประโยชน์อื่น ๆ




Video Input Device

จะประกอบด้วย ลำดับของเฟรม (Frames) ภาพนิ่งหลายเฟรม มีการสลับเฟรมเพื่อแสดงผลได้อย่างรวดเร็วพอที่จะหลอกตาคนดูได้ว่าภาพที่เห็นนั้นเป็นภาพเคลื่อนไหว ในการเปลี่ยนเฟรมหรือเคลื่อนที่ของภาพจะเร็วจนเห็นเป็นภาพต่อเนื่อง






2. อุปกรณ์แสดงผล (Output Device)


Output: คือผลลัพธ์ของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (CPU/Processor) และนำผลลัพธ์นั้นส่งออกไปแสดงผลยังอุปกรณ์แสดงผล ซึ่งอุปกรณ์แสดงผลมาตรฐาน ได้แก่ Monitor และ Printer



Screen (monitor)

สามารถแสดงผลข้อความ (Text) ตัวเลข (Number) รูปภาพ (Image) เสียง (Sound) และ VDOแสดงผลในรูปแบบของสีหรือขาวดำ การแสดงผลทาง Screen output จะเรียกว่า soft copy สัมผัสไม่ได้และแสดงผลชั่วคราว จอภาพที่ใช้ทั่วไปได้แก่

Cathode ray tube (CRT) แสดงผลข้อความ (Text) และกราฟิก (Graphics) ส่วนใหญ่แสดงผลเป็นสี ส่วนจอ monochrome จะแสดงผลเป็นสีเดียว (ขาว-ดำใช้ Graphics card ในการแปลงสัญญาณจากหน่วยควบคุมไปเป็นภาพให้ user มองเห็น








ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการแสดงผลของจอภาพ

1. Scan rate อัตราความถี่ในการ refresh ภาพ ซึ่งอัตราการ Refresh บนหน้าจอ (Refresh Rate)

จะใช้หน่วยวัดเป็น Hertz (Hz) คือ รอบต่อวินาที (cycles per second) ซึ่งโดยปกติจอภาพจะมีการ Refresh 72 Hz / วินาที

2. Resolution : ความละเอียดของจอภาพ ซึ่งปกติจะใช้หน่วยวัดเป็น pixels (จำนวนจุดในการ

เกิดภาพ) ถ้ามีจำนวน pixels มากก็จะมีความละเอียดในการแสดงผลสูง แต่ละ pixels บรรจุเม็ดสี 3 สี คือ แดง(Red) เขียว (Green) น้ำเงิน (Blue) ซึ่งจอภาพมาตรฐานที่ใช้แสดงผลภาพกราฟิก (Graphics standards) มี 2 แบบ ได้แก่

- จอภาพ VGA (Video Graphics Array) แสดงผล 256 สี (Color)ส่วนมากจะใช้ค่าความละเอียดบนหน้าจอ640*480 มีความละเอียดน้อยกว่าจอภาพแบบ SVGA

- จอภาพ Super VGA (SVGA: Super Video Graphics Array) แสดงผล 16 ล้านสี (Color) ส่วนมากจะใช้ค่าความละเอียดบนหน้าจอ 800 * 600 [ (horizontal) * (vertical) pixels ] หรือ 1024*768 หรือสูงกว่า SVGA ดีกว่าและได้รับความนิยมมากกว่า VGA

3. Dot pitch : คือจุดที่ประกอบกันเป็น Pixel ซึ่งแต่ละ Pixel ประกอบด้วยจุด 3 จุด(three dotsได้แก่ (red,green, blue) แต่ละ dot pitch มีขนาดใหญ่ไม่เกิน 28 มิลลิเมตร (millimeterdot pitch จะเล็กมากและทำให้ภาพมีความคมชัด

4. RAM-Card memory หน่วยความจำ RAM สำหรับการ์ดจอ ถ้ามี RAM-Card มาก (high-speed) ก็จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของภาพที่แสดง






ขนาดของจอภาพ (Monitor Size)


การวัดขนาดของหน้าจอนั้น จะวัดเป็นนิ้ว (Inches) ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน 2 ขนาดได้แก่ 15(พื้นที่แสดงภาพ 13”) และขนาด 17” (พื้นที่แสดงภาพ 15”) โดยวัดตามมุมทแยงของจอ จอภาพที่มีขนาดใหญ่ ราคาก็จะสูงตามไปด้วย และความละเอียดบนหน้าจอขนาด 17” มักเซตค่าความละเอียด ตั้งแต่ 640*480 ถึง 1280*1024




Flat-panel screens



Liquid crystal display (LCD) ใช้ครั้งแรกกับเครื่องคอมพิวเตอร์ Laptops ต่อมานำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop computers) มีขนาดบางมาก (หนาประมาณ นิ้วกว่าเท่านั้นทำให้เกิดความคมกริดของภาพ(Images) และข้อความ (Text) มากกว่าจอ CRTs มองภาพได้สบายตากว่าจอ CRTs






                               





Printer



ใช้เมื่อต้องการแสดงผลในรูปของกระดาษ งานที่ Print ออกมาทางกระดาษจะเรียกว่า “hard copy” และสามารถกำหนดแนวของกระดาษได้ 2 แนวคือ กระดาษแนวตั้ง (Portrait) และกระดาษแนวนอน (Landscape)สามารถจำแนกเครื่อง printer มี ประเภท ได้แก่

1. Impact printer


2. None-impact printer




Impact Printers


สร้างภาพออกทางกระดาษ โดยมีการกระทบหัวเข็มหรือสัมผัสลงบนกระดาษ มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์Mainframe Computers ที่มีการ Print รายงานที่มีความยาวมาก ๆ โดยใช้กระดาษต่อเนื่อง หรือใช้กับการ Printกระดาษต่อเนื่องที่ต้องการหลาย ๆ Copy เครื่อง printer ที่จัดอยู่ในประเภทของ Impact Printer ได้แก่ Dot-matrix printer




Dot-matrix printer



ใช้การกระทบของหัวเข็ม ตัวอักษรและภาพเกิดจากการ plot จุดเกิดเป็นเส้น (line) ให้เห็นเป็นภาพ














การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Dot Matrix (Dot Matrix Printers – Performance)

1. ความละเอียด (Resolution) เครื่องพิมพ์ Dot Matrix มีคุณภาพและความละเอียดในงานพิมพ์ต่ำกว่า

เครื่องชนิดอื่น ซึ่งในอดีต Dot Matrix จะมีหัวเข็ม (pin) 9 หัวเข็ม เนื่องจากหัวเข็มที่น้อย และพิมพ์งานตามลำดับ ทำให้มีความเร็วและความละเอียดต่ำ แต่ถ้าเป็น Dot Matrix ที่มี 24 หัวเข็ม จะมีคุณภาพและความละเอียดดีกว่า

2. ความเร็ว (Speedวัดความเร็วเป็นตัวอักษรต่อวินาที (characters per second :cps) ซึ่งโดยปกติจะมี

ความเร็วอยู่ที 500 cps







None-impact Printers



เป็นเครื่องพิมพ์ที่ Print ภาพออกทางกระดาษโดยไม่ใช้การกระทบของหัวเข็ม เครื่อง Print ที่รู้จักกันดีคือLaser printer และ Ink-jet printer





Ink-jet printer

ทำงานโดยใช้การพ่นหมึกลงบนกระดาษ สามารถ Print ได้ทั้งภาพขาว-ดำ

และสีมีคุณภาพสูงและหมึกไม่เลอะ ราคาเครื่องถูกว่า laser printers แต่ความคมชัดหรือประณีตของตัวอักษรก็ด้อยกว่า Laser printer


การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Ink Jet (Ink Jet Printers – Performance)

1. ความเร็ว (Speed) : ความเร็วในการพิมพ์ของเครื่อง Ink jet จะวัดเป็นหน้าต่อนาที
(pages per minute : ppm2 – 4 ppm
2. ความละเอียด (Resolutionความละเอียดในการพิมพ์จะวัดเป็นจุดต่อนิ้ว (dots per inch :dpi)
โดยปกติจะอยู่ที่ 300 – 600 dpi ซึ่งถือว่าคุณภาพต่ำกว่าเครื่อง Laser printer
3. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ
4.ราคาของตัวเครื่อง (Price) : ถ้าเปรียบเทียบด้านราคาแล้วจะมีราคาถูกกว่าเครื่อง Laser printer รวมถึง
ค่าใช้จ่ายในการใช้งานถูกกว่าด้วย (low operating costs)


Laser printer

เป็นเครื่อง Print ที่ไม่มีการสัมผัสลงบนกระดาษ การทำงานนั้นจะใช้การยิงลำแสงส่งผ่านภาพไปยัง กระดาษ มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง ink-jet printer


การวัดประสิทธิภาพของเครื่อง Laser (Laser Printers – Performance)
1. ความละเอียด (Resolutions) : เครื่อง Laser มีความละเอียดในการพิมพ์ ตั้งแต่ 300 – 1200 dpi หรือสูงกว่า
2. ความสามารถในการพิมพ์สี (Color) : สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ(Black-and-white) แต่ Laser
ที่พิมพ์สีได้นั้นราคาเครื่องจะสูงกว่า Laser ทั่วไป และสามารถพิมพ์สีได้ระหว่าง 4 – 16 ppm (Pages perminute)

3. คุณภาพในการพิมพ์ (quality ) เครื่อง Laser มีคุณภาพในงานพิมพ์สูงกว่าเครื่อง ink jet printers
แต่ราคาสูงกว่าด้วยทั้งในด้านตัวเครื่องและค่าใช้จ่ายในการใช้งาน



Hand held printer
เป็นเครื่อง Print แบบพกพาได้ ส่วนมากใช้กับการ Print รูปขนาดเล็ก หมึกที่ใช้จะถูกออกแบบมาพิเศษ มีความสามารถในการทนน้ำได้ ตลับหมึกมีการแยกสีเฉพาะ

ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมากับการใช้งาน Printer
นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายในการซื้อตัวเครื่อง Printer แล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นที่ตามมา เมื่อมีการนำ Printerเข้ามาใช้งาน ดังนี้
1. ค่าหมึกพิมพ์ สามารถเลือกใช้ผงหมึกแบบเติม โดยจะมีหลายประเภทให้เลือก ซึ่งปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตก็ได้มีการพัฒนาคุณภาพและความสะดวกในการใช้ง่าย ให้เติมหมึกได้ง่ายกว่าในอดีต โดยไม่ต้องแกะตลับหมึก มีลักษณะแบบเป็นขวดพลาสติก และหัวบีบลงในช่อง Toner ได้เลย ทำให้ผงหมึกไม่ฟุ้งกระจาย ไม่เกิดผลเสียกับเครื่อง ปลอดภัยต่อสุขภาพ มีฝากรวยสำหรับเติม หรือสามารถเลือกเปลี่ยนตลับหมึกได้เลย

2. ค่าอะไหล่และค่าซ่อมเมื่ออุปกรณ์บางชิ้นส่วนของตัวเครื่อง Printer ชำรุด

นอกจากอุปกรณ์ Output มาตรฐานสองรายการข้างต้นนี้แล้ว ยังมีอุปกรณ์อื่นอีกที่ user ใช้แสดงผลลัพธ์ของข้อมูล เช่น อุปกรณ์ในการแสดงเสียง (Voice) และ Music

Voice Output Device

อุปกรณ์แสดงผลเสียง(Voice Output Deviceจะใช้ตัวสังเคราะห์เสียง (Voice synthesizers) เป็นตัวแปลงข้อมูลให้เป็นเสียง





Music Output Device


เป็นอุปกรณ์ในการแสดงผลสื่อ Multimedia เกม (games) และ VDO ซึ่งแสดงข้อมูลทั้งภาพและเสียงโดยอาศัยลำโพงเป็นอุปกรณ์แสดงผลเสียง และหน้าจอคอมพิวเตอร์ในการแสดงผลภาพ









ระบบเสียง (Sound Systems)


เครื่อง PC ที่ต้องการใช้งานร่วมกับสื่อ Multimedia จำเป็นต้องมีการ์ดแปลงสัญญาณเสียง (sound card) ลำโพง (speakers) รวมถึง CD-ROM และ DVD drive เพื่ออ่านข้อมูลออกจากแผ่น CD และ DVD

sound card จะทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) ให้กลายเป็นสัญญาณอนาล๊อก (analog) ซึ่งก็คือสัญญาณคลื่นเสียงนั่นเองแล้วก็แสดงผลออกทางลำโพง นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ software ช่วยในการแก้ไข ดัดแปลง สร้างหรือแต่งเสียงเพลงต่าง ๆ ได้ตามต้องการ




สรุปความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอุปกรณ์



Central Processing Unit(CPU)

CPU เป็นอุปกรณ์ ที่เปรียบเสมือนสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ ในการประมวลผลคำสั่ง ที่เราป้อนเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ CPU ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ด้วยกันมากมาย จากหลายผู้ผลิต และหลายรุ่น ที่รู้จักกันดีก็จะเป็น CPU จากค่าย Intel ซึ่งผลิต CPU มาตั้งแต่รุ่น 4040, 4044, 8080, 8088, 80286, 80386, 80486, Pentium, Pentium Pro,... Pentium II, Pentium II Xeon, Celeron, Pentium III, Pentium III Xeon Celeron II, Pentium IVและล่าสุดกับ Pentium Duo ซึ่งปัจจุบันความเร็วของ CPU สูงถึง1.5 GHz (1500 MHz) นอกจาก CPU จากทางด้าน Intel แล้วยัง มีจากผู้ผลิตรายอื่นอีกเช่น AMD (Advance Micro Device) จัดเป็นผู้ผลิต CPU รายใหญ่อันดับสอง CPU ที่เด่นใน ช่วงนี้ของ AMD คือDuron และ Thunderbirdซึ่งเป็น CPU ราคาถูกและ มีประสิทธิภาพสูง และยังมีผู้ผลิตอย่าง Via (Cyrix) ซึ่งผลิต CPU ตระกูล MI, MII, MIIIจัดเป็น CPU ระดับต่ำราคาถูก


Harddrive

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้บันทึกข้อมูลหรือ Software ที่เราต้องการเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ Harddrive(Harddisk) ปัจจุบันมี มาตรฐานการเชื่อมต่อหลัก ๆ อยู่ แบบ คือ ATA(IDE) และ SISC (สกัสซี่) ซึ่งปัจจุบัน SISC อยู่ที่ ความเร็ว 160 MB/Sec ส่วน ATA อยู่ที่ 100 MB/Sec ทั้งสองมาตรฐานต้องต่อกับ อุปกรณ์เฉพาะที่ออกแบบมากับ แต่ละแบบ ไม่สามารถนำมาต่อเข้าด้วยกันได้ ยกเว้นจะมีตัวควบคุม (Controller) แยกต่างหาก


Mother Board

เป็นแผงวงจรหลักที่อุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด จะเชื่อมต่อหรือติดตั้งบน Mother Board (Main Board) นี้ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นCPU, Harddrive, VGA Card เป็นต้น บน Mother Board จะประกอบไปด้วยChipSet 2 ตัว คือ North Bridge และ South Bridge ซึ่งNorth Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่ติดต่อกับ CPU เช่น Memoryส่วน South Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่ติดต่อกับอุปกรณ์ I/O (Input and Output) และบนMother Board ยังประกอบไปด้วยExpension Slot ซึ่งใช้เสียบ Card ต่าง ๆ เช่น VGA Card ซึ่งExpension Slot มีด้วยกันหลายแบบ ที่พบเห็นกันอยู่ได้แก่ 1)ISA Slot ซึ่งจะเป็น Slot สีดำมีทั้งแบบ 8 bit และ 16 bit 2) EISA Slot (Vesa Local Bus) จะเป็น Slot สีดำ แบบ ISA และมีช่องสีน้ำตาลเพิ่มเข้ามา เป็นSlot 32 bit 3) PCI Slot จะเป็น Slot สีขาว มีทั้งแบบ 32 bit และ64 bit ปัจจุบันเป็น Slot ที่ใช้มากที่สุด


Main Memory

เป็นหน่วยความจำหลักของระบบ ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูล หรือ โปรแกรมชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการประมวลผล Main Memory (RAM) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีด้วยกัน หลายประเภท ได้แก่

1) SIMM RAM (40 pin และ 72 pin) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า FastPageและยังมี EDO RAM ซึ่งเพิ่มขีดความสามารถในการ เข้าถึงข้อมูลให้เร็วขึ้น
2) DIMM RAM หรือที่เรียกกันว่า SDRAM เป็นRAM แบบ 168 pin มีตั้งแต่รองรับ Bus 66,100,133 (PC 66, PC 100, PC 133) เป็น RAMที่ใช้กัน อยู่ในปัจจุบัน
3) RIMM RAM หรือที่รู้จักในชื่อ Direct RAM BUS หรือ RDRAMเป็นRAM ที่ใช้กับ Mother Board ที่ใช้ ChipSet Intel คือ 820i, 840i, และ 850iใช้กับ Pentium III และ Pentium IV
4) DDR SDRAM เป็น RAM ที่ขยายเพิ่มขีดความสามารถให้กับSDRAM เดิมให้ทำงานได้ที่ความเร็ว เท่า

5)VCRAM หรือ Virtual RAM เป็น RAM ที่ไม่ค่อยพบเห็นในบ้านเรา ผลิตโดย บริษัท NEC




Display Card

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณภาพ เพื่อแสดงผลภาพออกทางจอภาพ ซึ่งปัจจุบันจะ สนับสนุนการทำงานทั้ง มิติ และ มิติ และจะเน้นหนักไปที่การเล่น เกมเป็นหลัก บริษัทผู้ผลิตการ์ดแสดงผล ที่รู้จักกันดีได้แก่ Matrox, Ati, Nvidia, 3DLab และปัจจุบันการ์ดแสดงผลจะมีบทบาทมาก เนื่องจากว่ามีการนำงานการคำนวณที่เกี่ยวกับการแสดงภาพมาคำนวณ ที่การ์ดแสดงผลแทนที่จะต้องคำนวณด้วย CPUจึงมีการเรียก Card ที่ทำงานในลักษณะนี้ว่า GPU (Graphic Processing Unit) ในการ์ดแสดงผลบางรุ่นยังมีช่องต่อ TV IN/OUTและ ช่องต่อ Panel Monitor (LCD Monitor) ด้วย บางรุ่นสนับ สนุนการใช้ แว่นตา มิติ เพื่ออรรถรสในการเล่นเกมส์


Sound Card



เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณเสียง ซึ่งถือเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ ที่ต้องการทำเป็น Home Theater Sound Cardในปัจจุบันจะสนับสนุนการต่อลำโพง ตัว Card บางตัวยังมีตัวถอด รหัสDolby Digital ซึ่งเป็นมาตรฐานของระบบเสียงรอบทิศทางที่ใช้ในภาพยนตร์ และยังสนับสนุนการสร้างเสียง มิติ เพื่อสร้างความ สมจริงในการเล่น เกมส์อีกด้วย เมื่อก่อน Sound Card จะติดตั้งบนISA Slot แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาใช้ PCI Slot ซึ่งทำให้ทำงาน ได้เร็วขึ้น และใช้การทำงานของ CPU น้อยลง เพิ่ม Function การทำงานได้มากขึ้น อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกลงมากด้วย


CD-rom Drive

ปัจจุบัน CDROM DRIVE เป็นอุปกรณ์ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ต้องมีเนื่องจากปัจจุบัน Software มีขนาดใหญ่มากไม่สามารถบรรจุ ลงบนแผ่นFloppy Disk ได้อีกต่อไป เทคโนลียีของ CDROM มีอยู่ แบบ คือการหมุนด้วยความเร็วคงที่ และการหมุนด้วยความเร็ว ไม่คงที่ ซึ่งแบบแรกจะทำให้ออกแบบ CDROM ได้ง่ายแต่ความเร็ว ในการเข้าถึงข้อมูลจะไม่คงที่ดังนั้น CDROM ที่ ใช้ระบบนี้จะระบุค่า ความเร็วที่ความเร็วสูงสุดที่ทำได้แทนความเร็ว เฉลี่ยจริงเช่น 50Xmax เป็นต้น ส่วนแบบหลังจะให้ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลแบบคงที่ตลอด แต่การออกแบบ CDROMทำได้ยากกว่าทำให้ ไม่เป็นที่นิยมในการออกแบบ และในปัจจุบันนี้บริษัทKenwood ได้ทำการเสนอเทคโนโลยี TrueXซึ่งใช้แสง Laser 7 เส้น ในการอ่านข้อมูลจากแผ่น CDROM ทำให้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลดีขึ้นจนความเร็วสูงสุดกับความเร็วเฉลี่ยใกล้เคียงกัน และประกอบกับในปัจจุบัน นี้ DVDROM DRIVE ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากการที่สามารถเก็บข้อมูลปริมาณมาก ๆ ได้โดยสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า แผ่นCDROM ประมาณ 12 เท่า อีกทั้งราคาที่ถูกลงอย่างมากทำให้เป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่น่าสนใจ และCD-RW ซึ่งเป็นเครื่องเขียน CDROM ก็มีราคาที่ถูกลงอย่างมากด้วย คาดว่าอีกไม่นาน DVDROM DRIVE และ CD-RW DRIVE จะเข้ามาแทนที่ CDROM DRIVE


Case

Case เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวถังของเครื่องคอมพิวเตอร์มีผู้ผลิตหลายรายได้ทำการผลิตคิดค้นรูปร่างของ Case ใหม่ ให้มีสีสันสวยงาม หรือ ออกแบบมาให้เหมาะกับการใช้งานบางประเภท เช่น Case สำหรับ เครื่อง Server Case ในท้องตลาดปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น แบบ คือCase โลหะ และCase พลาสติก โดยแบบหลังจะมีราคาที่แพงกว่า เพราะมีการป้องกันไฟฟ้ารั่ว และ Case ก็จะออกแบบมาให้เหมาะสมกับชนิดของ Mother Boardแต่ละประเภทด้วย เช่น Baby AT, ATX, Flex ATX, Micro ATX เป็นต้น


CPU Fan

พัดลม CPU นับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ต้องเลือกให้ดีเพราะเนื่องจากว่าCPU มีความร้อนสูงการเลือกพัดลมที่ไม่เหมาะกับการ CPU อาจเกิดความเสียหายต่อ CPU หรือทำให้ระบบคอมฯไม่มีเสถียรภาพได้ ปัจจุบันพัดลม CPU ได้ถูกออกแบบมาเฉพาะกับ CPU แต่ละรุ่น ซึ่งจะมีรูปร่าง และวัสดุที่ใช้ทำต่างกัน มีการนำทองแดงมาใช้เป็นวัสดุแทนอลูมิเนียม เพื่อช่วยระบายความร้อน ใส่พัดลมที่มีกำลังแรงและมีขนาดใหญ่มีการออกแบบครีบให้มากเพื่อช่วยระบายความร้อน


Monitor

Monitor เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบTrinitronและ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(monitorทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดีกว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตาเมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่าจอปกติพอสมควร ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้ และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต


Mouse

Mouse จัดเป็น Input Device ประเภทหนึ่งซึ่งข้อมูลที่ป้อนเข้าไปคือตำแหน่งที่มีการ Click ซึ่ง Mouse มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ได้แก่
1)Mouse แบบปกติ ที่พบเห็นทั่วไปอาจจะมี ปุ่ม หรือ ปุ่ม
2) Mouse แบบไร้สาย (WireLess) ซึ่งจะใช้ สัญญาณวิทยุโดยMouseเป็นตัวส่งสัญญาณและมีตัวรับสัญญานที่ต่อกับเครื่องคอม

3) Mouse แสง (Optical Mouse) เป็น Mouse ที่ไม่มีลูกกลิ้งที่ฐานMouseใช้การอ่านค่าจากการสะท้อนของแสงที่สัมผัสกับพื้นผิว

4) Scroll Mouse เป็น Mouse ที่มี Scroll ไว้เพื่อใช้เลื่อน


Keyboard

keyboard เป็นอีกหนึ่ง Input Device ที่รับข้อมูลเข้าโดยการ ป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์ ในอดีต keyboard จะมี key อยู่ 101-102 keyแต่ปัจจุบันได้มีการเพิ่ม Function เข้าไปเป็นจำนวนมากทำให้มี keyเพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมาก การออกแบบ keyboard ได้มีการพยายามออกแบบให้ใช้งานง่ายตรงกับลักษณะการพิมพ์ของคนเพื่อทำให้ไม่รู้สึกเมื่อยล้าเวลาพิมพ์ และยังมีการพัฒนาให้เป็น แบบไร้สายเช่นเดียวกับ Mouse มีการเพิ่มfunction Multimedia เข้าไปเช่น เพิ่ม Volumeของเสียง เปิดเพลงเป็นต้น


Floppy Drive

Floppy Drive เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนแผ่น Floppy Diskซึ่งมีความจุต่าง ๆ กันเช่น 360KB, 720KB, 1.2MB, 1.44MB, 2.88 MB ซึ่งมีขนาด 3.5" และ 5.25" นอกจาก Floppy Drive แล้วยังมี อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชั่วคราวอื่น ๆ เช่น Zip Drive, Jazz Drive, SuperDrive และล่าสุดกับTrump Drive ซึ่งสามารถนำไปต่อกับ Port USB เพื่อทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ทันที


CAM

เป็นอุปกรณ์ Input Device ที่รับข้อมูลเป็นภาพเข้าไปผ่านอุปกรณ์ตัวนี้ ซึ่งมีประโยชน์ในการใช้ในการประชุมผ่าน Internet หรือการพูดคุยผ่านInternet โดยเห็นหน้าผู้สนทนากับเราด้วย ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริม แล้วแต่ความจำเป็นของผู้ใช้


Scanner

Scanner เป็น Input Device ที่รับข้อมูลโดยการ Scan ภาพหรือ เอกสาร ซึ่งปัจจุบันมีการนำ Function ในการส่งเอกสารเพิ่มเข้าไปในScanner ซึ่งสามารถส่งภาพที่ Scan โดยกดปุ่มที่ Scanner แทนที่จะต้องไปแนบภาพ (Attach) กับ e-mail แล้วค่อยส่ง คุณสมบัติของScanner จะวัดที่ค่าResolution ว่ามีความละเอียดเท่าไร แสดงได้กี่สี และความเร็วในการ Scan


Printer

Printer เป็นอุปกรณ์ Output Device ซึ่งทำหน้าที่พิมพ์เอกสารหรือรูปภาพที่ต้องการออกทางเครื่องพิมพ์ ปัจจุบันมี Printer อยู่ แบบ คือ

Dotmatrix Printer ซึ่งเป็นแบบหัวกระแทกผ้าหมึกเกิดเป็นตัวอักษรหรือภาพ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสารที่ไม่เน้นความปราณีต

Inkjet Printer เป็นแบบพ่นน้ำหมึกลงไปบนกระดาษซึ่งงานพิมพ์ที่ออกมาจะมีความละเอียดและสวยงามกว่า Dotmatrix Printer แต่ค่าหมึกพิมพ์จะมีราคาแพงจึงเหมาะกับงานที่ต้องการความเร็วและพิมพ์รูปภาพ มากกว่าการพิมพ์เอกสารจำนวนมาก ๆ

Laser Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงที่สุดและมีราคาแพงที่สุดมีความละเอียดสูงแต่ค่าหมึกพิมพ์จะมีราคาแพง เหมาะกับงานทุกประเภทที่ต้องการความรวดเร็วในการพิมพ์และเน้นความปราณีต


Speaker

ลำโพงนับเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีของลำโพงในปัจจุบันเริ่มมีการสนับสนุนการทำ งานแบบรอบทิศทาง โดยมีตั้งแต่ลำโพงแบบ ลำโพง, 2 ลำโพง + 1 Subwoofer, 4 ลำโพง, 4 ลำโพง + 1 Subwoofer, 5 ลำโพง และ 6ลำโพง คือ หน้า(Front)(ซ้าย + ขวา)กลาง(Center), หลัง(Rear)(ซ้าย + ขวา), Subwoofer และบางรุ่นมีตัวถอดรหัส สัญญาณเสียงDigital ด้วย มีช่องต่อS/P DIF เพื่อรองรับการ์ดเสียงที่มีช่องต่อ S/P DIF Output เพื่อเพิ่มคุณภาพของเสียงให้ดียิ่งขี้น


Power Supply

Power Supply เป็นแหล่งจ่ายไฟให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันมีPower Supply อยู่ แบบ คือ แบบ AT, ATX, และ Power Supplyที่ออกแบบให้ใช้กับ Mother Board สำหรับ Pentium IV แต่ละแบบจะมีกำลังที่ต่างกัน ตั้งแต่ 200 Watt ขึ้นไป ปัจจุบันกำลังไฟที่ใช้จะอยู่ประมาณ 300 Watt


Modem

Modem เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณ Analog ไปเป็นสัญญาณDigital และ จาก Digital ไปเป็นสัญญาณ Analog ซึ่งในคอมพิวเตอร์นั้นจะมีลักษณะสัญญาณเป็นแบบ Digital ดังนั้นจึงต้องใช้ Modem ในการแปลงสัญญาณเพื่อที่จะสามารถส่งสัญญาณไปบนสายโทรศัพท์ธรรมดาได้ วัตถุประสงค์ของ Modem คือใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะทางไกล ๆ ซึ่งที่พบเห็น คือการเชื่อมต่อ Internet จากบ้านไปยังผู้ให้บริการ Internet (ISP : Internet Service Provider) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีADSL ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อด้วยสัญญาณ Digital โดยต้องใช้ กับDigital Modem หรือ ADSL Modem ซึ่งจะมีความเร็วในการเชื่อมต่อ ตั้งแต่ 128 Kbit/Sec ขึ้นไป ซึ่ง Modem แบบ Analog ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีความเร็วสูงสุดที่ 56 Kbit/Sec และ Modem ยังแบ่งออกเป็น 2ประเภท คือแบบติดตั้งภายใน (Internal Modem) ซึ่งจะเสียบบน ISA Slotหรือ PCI Slot ภายในเครื่อง ราคาถูก อีกแบบ คือแบบติดตั้งภายนอกซึ่งที่พบเห็นบ่อย จะมี แบบ คือต่อผ่าน Serial Port (COM Port) และ แบบต่อ ผ่าน USB Port (Universal Serial Bus)ซึ่งมีราคาที่แพงกว่า แบบติดตั้งภายในแต่สะดวกในการเคลื่อนย้าย และไม่สร้างปัญหาเรื่อง ความร้อนให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์


Network Card

Network Card หรือบางครั้งเรียกว่า LAN Card เป็นการ์ดที่ใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย โดยการนำคอมพิวเตอร์มาต่อเชื่อมกันผ่าน LAN Card ซึ่งบางครั้งอาจต้องมีอุปกรณ์อื่นเสริม เช่น HUB, Switching, Rounter เป็นต้น ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ความเร็วจะมีตั้งแต่10 Mbit/sec จนถึงระดับ Gbit/bit ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ (Ethernet, ATM, ISDN) และระบบเครือข่ายที่ใช้ว่าเป็นแบบ(Bus, Star, Ring)เป็นต้น