วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัด บทที่ 3 การประมวลผลข้อมูล





แบบฝึกหัด
บทที่ 3  การประมวลผลข้อมูล

 ตอนที่ 1

2. ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิต่างกันอยา่างไร
      ตอบ     ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data)  เป็นข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งกำเนิดข้อมูลโดยตรง  เป็นการค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง  จากการสัมภาษณ์  สอบถาม  แต่ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data)  เป็นข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้วสามารถนำมาใช้งานได้ทันที
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
7. อธิบายความหมายของ "เขตข้อมูล (Field)"
      ตอบ      เขตข้อมูล คือ กลุ่มของอักขระทีสัมพันธ์กัน ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปที่นำมารวมกันแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ฟิลด์แต่ละฟิลด์ยังแยกออกเป็นประเภทข้อมูล ซึ่งจะบ่งบอกว่าในเขตฟิลด์นั้นบรรจุข้อมูลประเภทใดไว้ สามารถแยกประเภทของฟิลด์ได้เป็น 3 ประเภทคือ

          - ฟิลด์ตัวเลข (numeric field) ประกอบด้วย อักขระที่เป็นตัวเลข ซึ่งอาจเป็นเลขจำนวนเต็มหรือทศนิยมและอาจมีเครื่องหมายลบหรือบวก เช่น ยอดคงเหลือในบัญชีเป็นกลุ่มของตัวเลข

          - ฟิลด์ตัวอักษร (alphabetic field) ประกอบด้วย อักขระที่เป็นตัวอักษรหรือช่องว่าง (blank) เช่น ชื่อลูกค้าเป็นกลุ่มของตัวอักษร

          - ฟิลด์อักขระ (character field หรือ alphanumeric field) ประกอบด้วย อักขระซึ่งอาจจะเป็นตัวเลขหรือตัวอักษรก็ได้ เช่น ที่อยู่ของลูกค้า
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
9. วิธีจัดการแฟ้มข้อมูลแบบใดเข้าถึงข้อมูลได้เร็วที่สุด  เพราะเหตุใดและมีประโยชน์อย่างไร  ยกตัวอย่าง
     ตอบ     การประมวลผลแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  เพราะทุกๆ ระเบียนถูกจัดการแบบเรียงลำดับโดยใช้ฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งเป็นฟิลด์หลัก  ประโยชน์ของการจัดการแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ  คือ  เป็นวิธีการจัดการข้อมูลที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ  เหมาะสำหรับจำนวนข้อมูลที่มีปริมาณมากและประมวลผลเป็นครั้งคราว  แต่วิธีนี้จะช้ามากเกินไปสำหรับโปรแกรมที่ต้องการการปรับปรุงหรือการตอบสนองโดยทันที  ตัวอย่างเช่น  การนำระเบียนเงินเดือนไปปรับปรุงรายการในแฟ้มเงินเดือนใช้หมายเลขประกันสังคมของลูกจ้างเป็นคีย์หลัก
------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตอนที่ 3


ข้อ 1.  ตอบ     Process คือ การประมวลผลข้อมูล การกำหนดค่า การโยกย้ายข้อมูล หรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์
ข้อ 2.  ตอบ     Input/Output (I/O) คือ หน่วยรับหรือแสดงข้อมูลโดยไม่ระบุอุปกรณ์
ข้อ 3.  ตอบ     Terminal, Interrupt คือ แสดงจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุดของโปรแกรม
ข้อ 4.  ตอบ    Display คือ แสดงผลจอทางภาพ
ข้อ 5.  ตอบ     Printer คือ แสดงผลทางเครื่องพิมพ์
ข้อ 6.  ตอบ     Decision คือ กำหนดเงื่อนไข ทางเลือก การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์เพื่อการตัดสินใจ
ข้อ 7.  ตอบ     Predefined Process คือ โปรแกรมย่อยหรือโมดูล เริ่มทำงานหลังจากจบคำสั่งในโปรแกรมย่อยแล้วจะกลับมาทำคำสั่งต่อไป
ข้อ 8.  ตอบ     Preparation คือ การเตรียมทำงานลำดับต่อไป
ข้อ 9.  ตอบ     Connector คือ จุดเชื่อมต่อผังงานในหน้าเดียวกัน
ข้อ 10. ตอบ     Off page Connector คือ จุดเชื่อมต่อผังงานที่อยู่ต่างหน้ากัน
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แบบฝึกหัดบทที่ 4 การวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน


แบบฝึกหัดบทที่ 4
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน

ตอนที่ 1

ข้อ 2. อธิบายความหมายของ “การวิเคราะห์ระบบ”
ตอบ     หมายถึง กระบวนการเกี่ยวกับการศึกษาระบบที่มีอยู่แล้ว เพื่อกำหนดวิธีการทำงานและวิธีการที่ผู้ใช้ต้องการ การวิเคราะห์ระบบเป็นการวางแผนงาน การทำงานเพื่อปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น การวิเคราะห์ รวมถึงการสำรวจ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่ทำอยู่แล้วและผู้ใช้ระบบ

ข้อ 3. วงจรการพัฒนาระบบมีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ     มี 5 ขั้นตอน ดังนี้
          1. ขั้นเตรียมการ สำรวจ กำหนดปัญหา
          2. การวิเคราะห์ ทำความเข้าใจกับระบบเดิม
          3. การออกแบบ การวางแผนออกแบบระบบใหม่
       4. การพัฒนา การทำงานเพื่อให้ได้ระบบงานใหม่ตามที่ออกแบบไว้
          5. การนำไปใช้ การเปลี่ยนไปใช้ระบบใหม่

ข้อ 7. แผนภาพกระแสข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ     เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนระบบใหม่ แสดงถึงหน้าที่ของระบบซึ่งมีความสำคัญและมีความสลับซับซ้อนมาก แสดงให้เห็นถึงการไหลของข้อมูลตลอดทั้งระบบ การเขียนแผนภาพกระแสข้อมูลอย่างละเอียดจะทำให้การออกแบบระบบทำได้ง่ายขึ้น

ตอนที่ 3

ข้อ 1.  ตอบ     Process คือ การประมวลผลข้อมูล การกำหนดค่า การโยกย้ายข้อมูล หรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์
ข้อ 2.  ตอบ     Input/Output (I/O) คือ หน่วยรับหรือแสดงข้อมูลโดยไม่ระบุอุปกรณ์
ข้อ 3.  ตอบ     Terminal, Interrupt คือ แสดงจุดเริ่มต้นหรือสิ้นสุดของโปรแกรม
ข้อ 4.  ตอบ    Display คือ แสดงผลจอทางภาพ
ข้อ 5.  ตอบ     Printer คือ แสดงผลทางเครื่องพิมพ์
ข้อ 6.  ตอบ     Decision คือ กำหนดเงื่อนไข ทางเลือก การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์เพื่อการตัดสินใจ
ข้อ 7.  ตอบ     Predefined Process คือ โปรแกรมย่อยหรือโมดูล เริ่มทำงานหลังจากจบคำสั่งในโปรแกรมย่อยแล้วจะกลับมาทำคำสั่งต่อไป
ข้อ 8.  ตอบ     Preparation คือ การเตรียมทำงานลำดับต่อไป
ข้อ 9.  ตอบ     Connector คือ จุดเชื่อมต่อผังงานในหน้าเดียวกัน
ข้อ 10. ตอบ     Off page Connector คือ จุดเชื่อมต่อผังงานที่อยู่ต่างหน้ากัน


วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบและกิจกรรมการฝึกทักษะ บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


แบบทดสอบและกิจกรรมการฝึกทักษะ 
บทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ตอนที่1


1.ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญกี่ส่วน อะไรบ้าง
   ตอบ.     3 ส่วน    1.อาร์ดแวร์
                               2.ซอฟต์แวร์
                               3.บุคลากร

3.หน่วยรับโปรแกรมและข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ประเภท อะไรบ้าง
   ตอบ.     1.อุปกรณ์แบบธรรมดา
                2.อุปกรณ์แแบบพิเศษ
                3.อุปกรณ์รับข้อมูลโดยตรง

5.หน่วยความจำขนาด 4 GB มีความจุกี่ไบต์
   ตอบ.    429,4967,296  ไบต์

6.RAM คืออะไร
   ตอบ.    หน่วยความจำชั่วคราวเป็นหน่วยจัดเก็บโปรมแกรมและข้อมูลในระหว่างการทำการประมวลผล

9.ROM ต่างจาก RAM อย่างไร มีกี่ชนิด ชนิดใดนำไปใช้กับระบบ POS
   ตอบ.    POM เป็นหน่วยความจชนิดอ่านได้อย่างเดียวเท่านั้น ส่วน RAM เป็นหน่วยความจำชัางคราวเป็นหน่วยจัดเ้ก็บดปรแกรมและข้อมูลในระหว่างการประุมวลผล มี 3 ชนิด  ได้แก่
                        1. PROM
                        2. EPROM
                        3.EEPROM ชนิดที่นำไปใช้กับระบบ POS คือ EEPROM

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ตอนที่ 3.

 1.ซอฟต์แวร์คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย
    ตอบ.    โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหนต้าที่สั่งให้ส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ทำงานได้โดยอัตโนมัติ มี 2 ประเภท ได้แก่ 1.ซอฟต์แวร์ระบบ 2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์

3.โปรแกรมประเภทฟรีแวร์ แชร์แวร์ เฟรร์มแวร์ เป้นอย่างไร
    ตอบ.    โปรแกรมที่ช่วยอเำนวยความสะดวกในการทำงานได้หลายงานไม่ต้องเรียงดปรแกรมขึ้นมาใหม่ เพียงเรียนรู้การใช้งานเท่านั้น จะช่วยในการทำงานได้หลายงาน

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือ สารสนเทศ ต่างกันยังไง?


ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือ สารสนเทศ ต่างกันยังไง?

          ความหมายของข้อมูล
     ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ที่มีอยู่ในรูปของตัวเลข ภาษา ภาพ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีความหมายเฉพาะตัว ซึ่งยังไม่มีการประมวลไม่เกี่ยวกับการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ไพโรจน์ คชชา, 2542)

     พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525) ให้ความหมายของ ข้อมูล(Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือ การคำนวณ

     ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่อยู่ในรูปของตัวเลขหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ยังไม่ผ่านการประมวลข้อมูล (มนตรี ดวงจิโน, 2546)

" กล่าวโดยสรุป ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล"

          ลักษณะข้อมูล
               1. ข้อมูลที่คำนวณไม่ได้ ได้แก่ ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ รหัสประจำตัว
               2. ข้อมูลที่คำนวณได้ ได้แก่ ตัวเลขที่มีความหมายในการคำนวณ


          ประเภทของข้อมูล
               1. ข้อมูลเพื่อการวางแผน หมายถึง ข้อมูลที่มีความสำคัญเกี่ยวกับการวางแผนงานการบริหาร ใช้ในการควบคุม การตัดสินใจ โดยได้มีการสรุปเป็นหมวดหมู่เป็นตาราง มีการคำนวณ จัดเรียงลำดับ ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สารสนเทศ
               2. ข้อมูลการปฏิบัติงาน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
               3. ข้อมูลอ้างอิง หมายถึง ข้อมูลที่เก็บไว้สำหรับอ้างอิง

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          ความหมายของสารสนเทศ
     สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (ไพโรจน์ คชชา, 2542)

     สารสนเทศ (Information) หมายถึง ความรู้หรือข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่ได้รับการประมวลแล้วและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (มนตรี ดวงจิโน, 2546)

     วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมาย สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกกระทำให้มีความสัมพันธ์หรือความหมายนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น การเก็บข้อมูล การขายรายวันแล้วนำการประมวลผล เพื่อหาว่าสินค้าใดมียอดขายสูงที่สุด เพื่อจัดทำแผนการขายในเดือนต่อไป ซึ่งสารสนเทศมีประโยชน์ คือ
        1. ให้ความรู้
        2. ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
        3. ทำให้เห็นสภาพปัญหา สภาพการเปลี่ยนแปลงว่าก้าวหน้าหรือตกต่ำ
        4. สามารถประเมินค่าได้

" กล่าวโดยสรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้" 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------

          ความหมายของระบบสารสนเทศ
     ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ กระบวนการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งทำให้เป็นสารสนเทศ การจัดเก็บและการนำเสนอสารสนเทศให้เป็นปัจจุบันทันเหตุการณ์

     วิเศษศักดิ์ โคตรอาษา (2542) ได้ให้ความหมายของ ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ขบวนการประมวลผลข่าวสารที่มีอยู่ให้อยู่ในรูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นข้อสรุปที่ใช้สนับสนุนการบริหารและการตัดสินใจทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับ
สูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูลตังต่อไปนี้
        1. รวบรวมข้อมูลทั้งภายใน ภายนอก ซึ่งจำเป็นต่อหน่วยงาน
        2. จัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อให้เป็นสารสนเทศที่พร้อมจะใช้ประโยชน์ได้
        3. จัดให้มีระบบเก็บเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
        4. มีการปรับปรุงข้อมูลเสมอ เพื่อให้อยู่ในภาพที่ถูกต้องทันสมัย

     ขบวนการที่ทำให้เกิดสารสนเทศเรียกว่า “การประมวลผลสารสนเทศ” (Information Processing) และเรียกวิธีการประมวลผลสารสนเทศด้วยเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Information Technology : IT)

     แหล่งที่มาของข้อมูลสารสนเทศ
        1. ข้อมูลภายใน หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กรนั้น ได้แก่ ข้อมูล การปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลงานบุคลากร ข้อมูลงานกิจการนักเรียน
        2. ข้อมูลภายนอก หมายถึง ข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกองค์กร ข้อมูลหน่วยงานอื่นๆ

     ประโยชน์ของสารสนเทศ
        1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
        2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
        3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
        4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
        5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน

     แนวทางในการจัดทำระบบสารสนเทศ
        1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
        2. การตรวจสอบข้อมูล
        3. การประมวลผล
        4. การจัดเก็บข้อมูล
        5. การวิเคราะห์
        6. การนำไปใช้



ขอบคุณข้อมูลจาก : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จอCRT, LCD, LEDและ OED แตกต่างกันอย่างไร?


จอCRT, LCD, LEDและ OED แตกต่างกันอย่างไร?

          จอภาพเป็นอุปกรณ์ต่อเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว เพื่อเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถสื่อสารเข้าใจตรงกันได้ ซึ่งจะมีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่งทำงานควบคู่กับจอภาพ นั่นคือ การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ 
          ซึ่งจอภาพมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยีที่แตกต่างกันออกไป เทคโนโลยีบางอย่างกำลังจะเข้ามาแทนที่ ในขณะที่เทคโนโลยีบางอย่างกำลังจะถูกกลืนแล้วก็หายไป (Technology Life Cycle) มีอะไรบ้างในช่วงของ Life Cycle จอภาพที่มีการเปลี่ยนแปลง

                                                     CRT (Cathode Ray Tubes)
          เทคโนโลยีของจอแสดงผล (Display Technology) อดีตในปี ค.ศ. 1897 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน Kari Ferdinand Braun เป็นผู้ประดิษฐ์หลอดรังสีคาโธด หรือ CRT และในปี ค.ศ. 1908    Campbell Swinton ได้เสนอให้ใช้หลอด CRT สำหรับการแสดงผลภาพ ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 ได้มีการเริ่มนำ CRT มาทำจอภาพโทรทัศน์เป็นครั้งแรก โดยใช้การสแกนแนวนอน 343 เส้น และสามารถผลิตภาพได้ 30 ภาพต่อวินาที ซึ่งเพียงพอในการหลอกสายตามนุษย์ให้เป็นเป็นภาพต่อเนื่องได้โดยไม่กระตุก โดยหลักการของ CRT ซึ่งเป็นหลอดสูญญากาศนั้นทำงานโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนผ่านสนามแม่เหล็ก ซึ่งใช้ควบคุมทิศทางของลำแสงอิเล็กตรอนให้สามารถไปทางซ้าย-ขวา ขึ้นบน-ลงล่าง โดยการควบคุมผ่านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อยิงอิเล็กตรอนออกไปกระทบกับสารที่เคลือบด้านในของจอภาพ ซึ่งมีสารฟอสเฟสฉาบอยู่บนหลอดภาพ และเมื่อสารฟอสเฟสโดนแสงก็จะถูกกระตุ้นให้เปล่งแสงออกมา จุดไหนที่โดนแสงจะถูกกระตุ้นให้เปล่งแสงออกเป็นจุดๆ ซึ่งจุดนี้ก็คือจุดที่แสดงภาพขึ้นมาบนหน้าจอ จุดนี้มีชื่อเรียกว่า พิกเซล (Pixel)


จอภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มีหลักการแบบเดียวกับจอโทรทัศน์ เทคโนโลยีของ CRT เป็นที่นิยมในเทคโนโลยีแสดงผลที่มีอายุเกินร้อยกว่าปี และมาตรฐานการแสดงผลที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มาจากการพัฒนาของบริษัทไอบีเอ็ม ระบบแสดงผลที่ใช้กับจอภาพมีสีเดียวที่เรียกว่า “โมโนโครม” หรือ MDA (Monochrome Display Adapter) ซึ่งจะแสดงผลที่เป็นตัวอักษรเพียงอย่างเดียวแต่ให้ความละเอียดสูง แต่คาดกันว่าในอนาคตผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะเลิกใช้จอภาพแบบ CRT ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ ประหยัดพื้นที่ และที่สำคัญคือสุขภาพสายตา เทคโนโลยีหลอดภาพที่นำมาใช้เป็นมอนิเตอร์สำหรับคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาตั้งแต่ CGA, EGA, VGA, XGA และในปัจจุบันกลายเป็น UXGA

LCD (Liquid Crystal Display)
ถูกคิดค้นในปี ค.ศ. 1963 จอ LCD เริ่มจากการพัฒนานำมาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอภาพที่เริ่มเข้าสู่ยุคดิจิตอล จอภาพที่มีความแบนทำให้สามารถแสดงตัวอักษรและภาพได้โดยไม่เกิดการกระพริบ (flicker) การทำงานของจอภาพ LCD นั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวดมาทำการเปลี่ยนและบังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการ ทำให้แสงสว่างที่ได้จะไม่สั่นไหวเหมือนจอภาพแบบที่ใช้หลอดภาพ ซึ่งประโยชน์ก็คือสามารถลดความเมื่อยล้าในการมองได้ ซึ่งเดิมทีจอ LCD นิยมใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แบบแล็ปท๊อปหรือโน้ตบุ๊ค แต่ในปัจจุบันเริ่มมีปริมาณผู้ใช้จอภาพ LCD กับเครื่องเดสก์ทอปกันมากขึ้น และรวมไปถึง PDA และอาจกล่าวได้ว่าจอภาพ LCD กำลังก้าวมามีบทบาทแทนที่จอภาพแบบ CRT ซึ่งข้อดีของจอ LCD คือมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และกินไฟไม่มาก ให้ความละเอียดได้มากกว่าจอ CTR แต่ข้อเสียคือมีราคาแพงกว่าจอ CTR ส่วนในแง่ของการแสดงผล จอภาพ LCD ขนาด 15 นิ้ว สามารถให้พื้นที่การมองได้เกือบจะเท่ากับจอภพา CRT ขนาด 17 นิ้ว


จอภาพ LCD แบ่งเป็นสองเภท คือ 
• Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN) เป็นจอภาพแบบ Passive Matrix จอภาพที่มีสีค่อนข้างแห้ง เนื่องจากมีความสว่างน้อย และสีสันไม่มากนัก ทำให้ไม่สามารถมองจากมุมมองอื่นได้ นอกจากมองจากมุมตรง และมีการตอบสนองที่ช้ามาก ดั้งนั้นจึงมีปัญหาเวลาที่เราดูภาพยนตร์หรือเคลื่อนเมาส์เร็วๆ ทำให้เรามองภาพเป็นภาพเบลอๆ ไป ตามการเปลี่ยนภาพไม่ทัน
• Thin Flim Transistor (TFT) เป็นจอ LCD ที่ถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของจอ LCD แบบ DSTN โดยจอแบบ TFT นีเป็นแบบ Active Matrix ซึ่งได้ทำการเพิ่มเอาทรานซิสเตอร์เข้าไปเชื่อมต่อเข้ากับจอ LCD โดยทรานซิสเตอร์แต่ละตัวจะแทนแม่สี ผลที่ได้ก็ทำให้มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็วขึ้น มีความคมชัดมากขึ้น จอภาพมีสีสดใสมองเห็นจากหลายมุม เนื่องจากให้ความสว่างและสีสันในอัตราที่สูง และจอภาพ TFT สามารถทำให้บางกว่าจอภาพแบบ LCD ปกติได้ จึงทำให้มีน้ำหนักเบากว่า


OLED (Organic Light Emitting Diodes)
เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังจะเข้ามาเพื่อทดแทนเทคโนโลยี LCD ค้นพบโดยบังเอิญของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ โดยพบว่าสารกึ่งตัวนำบางชนิดสามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นแสงได้ ซึ่งเรียกว่า “อิเล็กโทรลูมิเนสเซนซ์” (Electroluminescence) ซึ่งเป็นสารโพลิเมอร์ที่ให้สีต่างๆ เมื่อนำมาประกอบกันและให้พลังงานในจุดที่ต้องการก็จะเปล่งแสงประกอบกันเป็นภาพและสีตามต้องการเหมือนจอภาพ LED (Light Emitting Diodeds) OLED เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานโดยอาศัยคุณสมบัติทางนาโน คือ วัสดุอินทรีย์เปล่งแสง เพราะเป็นสารอินทรีย์นี้เราจึงสามารถประกอบอุปกรณ์ OLED บนวัสดุที่พับงอได้ จึงเกิดเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า จอภาพแบบยืดหยุ่น (Flexible Display) ซึ่งมีข้อดีคือกินพลังงานน้อยกว่า จอภาพบาง แบน เบา ให้สีคมชัด และยืดหยุ่นได้ จากข้อดีดังกล่าวทำให้นักวิจัยเร่งวิจัยและพัฒนาคือ จอภาพที่ไม่กินพื้นที่ สามารถบิดงอได้โดยไม่ทำให้จอเสียหรือภาพล้ม ซึ่งเทคโนโลยีแบบเดิมไม่สามารถสนองความต้องการนี้ได้
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี OLED มาใช้กับจอภาพคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คทำให้มีภาพเคลื่อนไหวที่ชัดเจน การแสดงผลของจอภาพ OLED แสดงผลได้เร็วกว่าจอภาพ LCD จากคุณสมบัตินี้ทำให้จอภาพ OLED จะถูกนำไปใช้กับโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่เรียกว่า 3G คือเป็นโทรศัพท์ในยุคที่สาม เพราะโทรศัพท์ประเภทนี้จำเป็นต้องแสดงภาพวิดีโอของคู่สนทนาด้วย เพราะไม่เพียงแต่จะออกแบบให้สื่อสารกับหูเท่านั้น ยังสนองความต้องการทางตาได้ด้วย ทำให้จอภาพ OLED เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ


Plasma 
จอภาพ Plasma คือ วิวัฒนาการแห่งเทคโนโลยี visual image สำหรับแสดงข้อมูลดิจิตอล ด้วยเทคโนโลยี ALIS จอภาพ Plasma ใช้หลอดขนาดเล็กบรรจุก๊าซซีนอน เลียนแบบหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ เมื่อมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าไหลผ่านหลอดใด ก๊าซก็จะเปลี่ยนสถานะเป็นพลาสมา แล้วปล่อยพลังงานออกมาในรูปของรังสีอุลตร้าไวโอเลต ซึ่งจะไปกระตุ้นสารฟอสเฟอร์ไวแสงสีต่างๆ สามสีบนผิวจอให้สว่างขึ้นมา สามารถตอบสนองต่อสัญญาณภาพได้รวดเร็ว ทำให้ภาพคมชัด มีความละเอียด และความสว่างสูง มีสีสันที่ใกล้เคียงกับสีตามธรรมชาติเป็นอย่างมาก และมีมุมมองที่คมชัดมากกว่าจอภาพแบบ LCD สามารถมองภาพได้ชัดเจนในมุมกว้างเกือบ 180 องศา เนื่องจากเทคโนโลยีของจอภาพแบบ Plasma มีความแตกต่างจากจอภาพแบบ LCD ทำให้ราคาแพงกว่าจอภาพแบบ LCD ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาที่จะเป็นที่ยอมรับในการเลือกซื้อมาใช้งานในปัจจุบัน


          มาดูข้อดีข้อเสียของจอภาพแต่ละชนิดกัน เลือกให้ตรงกับความต้องการ เพื่อจะได้ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
54197

วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยที่ 1





แบบฝึกหัดท้ายหน่วยที่  1
ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ตอนที่ 1
1. อธิบายความหมายของ "คอมพิวเตอร์"
           ตอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ 
ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม

2. ผู้ค้นพบระบบจำนวนเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วย 0 และ 1 คือใคร
            ตอบ ค.ศ. 1673 : กอตฟริต ฟอน ไลบนิซ (Gottfried von Leibniz : 1646 - 1716) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ ชาวเยอรมัน ออกแบบเครื่องคิดเลขแบบใช้เฟืองทดเพื่อทำการคูณด้วยวิธีการบวกซ้ำ ๆ กัน

3. บิดาแห่งคอมพิวเตอร์คือใคร
            ตอบ ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) 

6. MARK I ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลกที่ทำงานโดยอัตโนมัีติทั้งเครื่องจัดเป็น Digital Computer ระบบการทำงานของเครื่องเป็นแบบใด
             ตอบ แบบกึ่งไฟฟ้า กึ่งจักร  Digital Computer 

10. เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด
             ตอบ ENIAC  (Electronic Numericial Integrator and Calculator) 


ตอนที่ 3
 1. คอมพิวเตอร์จำแนกตามขนาดได้ 4 ขนาด จงเปรียบเทียบและอธิบายความแตกต่างตามขนาดของคอมพิวเตอร์
             ตอบ คอมพิวเตอร์ทั้ง 4 ขนาด แตกต่างกันที่ความเร็ว ขนาด ราคา และการประมวลผล และหน่วยความจำของแต่ละเครื่อง

ความแตกต่างระหว่าง CPU Amd กับ CPU Intel



ความแตกต่างระหว่าง CPU Amd กับ CPU Intel
ซีพียู (CPU:Central Processing Unit) คือ หน่วยประมวลผลกลาง 
CPU นับเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณ และประมวลผลคำสั่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ผู้ใช้ สั่งผ่านโปรแกรม ต่าง ๆ ที่ เป็นโปรแกรมประยุกต์ ซีพียูนั้นจะต้องรับภาระในการควบคุมการ ทำงานของส่วนต่าง ๆ ของ เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นแป้นพิมพ์ เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์แสกนเนอร์ให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง 

แบบของซีพียู 
ซีพียู ของแต่ละบริษัทและแต่ละรุ่นจะมีรูปร่าง    ลักษณะโครงสร้างและจำนวนขาไม่เหมือนกัน  จากความแตกต่างกัน นี้เอง ซีพียูแต่ละตัวจึงใช้เมนบอร์ดไม่เหมือนกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ซีพียู สำหรับเครื่องพีซี แบบตั้งโต๊ะทั่วไป แบ่งได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ
  • ซีพียู แบบ Cartridge ซีพียูแบบนี้รูปร่างเป็นตลับแบนๆ ห่อหุ้มด้วยกล่องพลาสติกสี่เหลี่ยมด้านล่างจะเป็นแผงขาสัญญาณของซีพียู   สำหรับ เสียบลงในช่องแบบ สล๊อต (Slot) โดยซีพียูแบบ Cartridge ยังแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีก 3 แบบ   ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท ผู้ผลิตและรุ่นซึ่งใช้เสียบแทนกันไม่ได้ ซีพียูแบบนี้มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่าแบบ SECC  (Single Edde Connector Cartridge)  
  • ซีพียู แบบ PGA  ซีพียูแบบนี้รูปร่างเป็นชิปแบนๆ มีขาจำนวนมากอยู่ใต้ตัวซีพียู สำหรับเสียบลงในช็อคเก็ตจึงเรียก ว่า PGA    และสามารถ แบ่งออกเป็นแบบย่อยๆ ได้อีก 3 แบบ เช่นกัน ซึ่งใช้เสียบแทนกันไม่ได้ มีดังนี้ -  Socket  7  ใช้กับซีพียูรุ่นเก่า เช่น Pentium MMX , AMD K5, K6  มีจำนวนขาสัญญาณ 321 ขา -  Socket  370 พัฒนาโดย Intel ใช้กับ Pentium III, Celeron (รุ่นใหม่) และ Cyrix III มีขาสัญญาณ 370 ขา -  Socket  A พัฒนาโดย AMD เพื่อให้กับซีพียูของตนเอง ใน Athlon รุ่นใหม่และ Duron มีขาสัญญาณ 462 ขา     
บริษัทผู้ผลิต CPU
  • Intel         จากอดีตจนถึงปัจจุบันซีพียูค่ายนี้มักจะมีเทคโนโลยีการผลิตและความเร็วเหนือซีพียูจากค่ายอื่นๆโดยซีพียูตระกูลแรกที่ ใช้หมายเลขแสดงรุ่นมักจะถูกซีพียูจากค่ายอื่นเลียนแบบ โดยใช้คำว่า PR (Pentium Rate)  ตามด้วยความเร็วซีพียูเป็น MHzเนื่องจากกฏหมายลิขสิทธิ์ไม่คลอบคลุมถึงตัวเลขดังนั้นในรุ่นต่อมาอินเทล  จึงเปลี่ยนไปเรียกชื่อแทนการใช้ เลขมีดัง นี้ Pentium , Pentium MMX , Pentium Pro , Pentium III , Celeron , Pentium II , Pentium 4
  • AMD      AMD เป็นผู้ผลิตซีพียูเพียงรายเดียวของโลกที่สามารถผลิตซีพียู แข่งกับ อินเทล ได้ใกล้เคียงกันซึ่ง อินเทล มักเป็น ผู้นำทางด้านความเร็วและประสิทธิภาพ ส่วน AMD เน้นในเรื่องราคาที่ถูกกว่าในประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้ผู้ ใช้ เริ่มหันมาซื้อซีพียูของ AMD กันมากขึ้นโดยซีพียูรุ่นแรกๆ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ AMD คือรุ่น K5, K6 ส่วนรุ่น K7 หรือ  Athlon นั้นเป็นรุ่นแรกที่ AMD สามารถผลิตให้มีความเร็วและประสิทธิภาพเหนือกว่า Intel 

      AMD เป็นผู้ผลิตซีพียูเพียงรายเดียวของโลกที่สามารถผลิตซีพียู แข่งกับ อินเทล ได้ใกล้เคียงกันซึ่ง อินเทล มักเป็น ผู้นำทางด้านความเร็วและประสิทธิภาพ ส่วน AMD เน้นในเรื่องราคาที่ถูกกว่าในประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้ผู้ ใช้ เริ่มหันมาซื้อซีพียูของ AMD กันมากขึ้นโดยซีพียูรุ่นแรกๆ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ AMD คือรุ่น K5, K6 ส่วนรุ่น K7 หรือ  Athlon นั้นเป็นรุ่นแรกที่ AMD สามารถผลิตให้มีความเร็วและประสิทธิภาพเหนือกว่า ซีพียูของฝั่ง Intel

ซีพียูของทางฝั่งค่าย AMD มีดังนี้
ซีพียู AMD K5 
           นับเป็นคู่แข่งตัวแรกของเพนเทียม ซึ่งเป็นความพยายามครั้งแรกของ AMD ในการที่จะพัฒนาซีพียูของตัวเองขึ้นมา โดยที่ AMD เองก็เป็นผู้ที่ผลิตซีพียูมาเป็นระยะเวลานานแล้ว ตั้งแต่ 286 368 จนกระทั่งถึง 486 แต่ซีพียูที่ AMD ผลิตในช่วงนั้นยังคงถือว่าเป็นอนุพันธ์ของ Intel อยู่ เพราะมีส่วนประกอบทางเทคโนโลยีเหมือนกัน ครั้นพอมาถึงยุคเพนเทียม เราจะได้ยินคำๆ หนึ่งที่ทาง AMD และ Cyrix บอกว่า "เราไม่ได้ Compatible กับ Intel แต่งานใดก็ตามที่ซีพียูของ Intel ทำได้ ของ AMD กับ Cyrix ก็ทำได้" อย่างไรก็ตาม กว่าที่ AMD K5 จะออกมาสู่ตลาดได้ ก็เป็นช่วงหลังที่เพนเทียมได้รับความนิยมแล้ว ชื่อ AMD รุ่น K5 จึงไม่เป็นที่รู้จักเท่าใดนัก และไม่เป็นที่นิยมด้วย (ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วราคาถูกกว่า และใช้งานได้ประสิทธิภาพเหมือน Intel)
ชื่อรุ่นของ K5 ใช้ PR (Pentium Rate) เช่นเดียวกันกับ Cyrix 6X86 (M1) และ 6X86MX (M2) รุ่นที่หาได้จาก AMD K5 คือ PR75-PR166 สิ่งที่แตกต่างก็คือ PR100 ก็คือ CPU 100 MHz และ PR166 ก็คือซีพียูความเร็ว 166 MHz ไม่เหมือน Cyrix 6x86MX ที่ PR233 จะเป็นซีพียูที่มีความเร็ว 200 MHz
  รูปซีพียูAMD K5


ซีพียู AMD K6
          ซีพียูรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกในพัฒนาการของซีพียูรุ่นที่ 6 ของ AMD และได้ใส่ความสามารถ MMX เข้าไปด้วย ทำให้เมื่อเทียบชั้นกับ Pentium รุ่นที่เป็น MMX แล้วจะเหนือกว่าเล็กน้อย โดยภาพนอกยังคงใช้บัส 66 MHzและแคชขนาด 256 KB ถึง 1 MB แต่ความถี่ของสัญญาณนาฬิกาที่ใช้เพิ่มขึ้นเป็น 166,200,233 และ 266 MHz ส่วนเมนบอร์ด ซ็อคเก็ต และชิปเซ็ตที่ใช้จะเหมือนกันกับ Pentium ทุกประการ

  รูปซีพียูAMD K6



ซีพียู AMD K6-2
          ซีพีรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ AMD ใส่คำสั่งแบบ 3Now! เข้าไปใน K6 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลคำสั่งที่มีข้อมูลจำนวนมาก เช่นการคำนวณทางด้านสามมิติ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากชุดคำสั่งแบบ MMX (ที่คอมแพตติเบิลกับของ Intel) ซึ่งมีอยู่แล้วใน K6 นอกจากนี้ยังเป็นครั้งแรกที่ใช้บัส 100 MHz และ ซ็อคเก็ตแบบ Socket 7 หรือ Super 7 แต่อย่างไรก็ตาม K6-2 ยังคงใช้แคชระดับสองอยู่ภายนอกซีพียู โดยมีขนาด 512 KB, 1 MB หรือ 2 MB ซึ่งต้องทำงานที่ความเร็วเดียวกันกับบัสภายนอก ทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร หลังจากนั้นไม่นาน AMD ก็ออก K6-3 ที่มีแคชระดับสองอยู่ในตัว ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดีขึ้น แต่ K6-2 ก็ยังคงมีอยู่มากมายหลายรุ่นราคาถูกมา ๆ เหมาะสำหรับู้ต้องการเริ่มต้นซื้อเครื่องที่ลงทุนน้อยแต่ได้คุณภาพสูงพอสมควร ความเร็วของซีพียูรุ่นนี้มีตั้งแต่ 300 MHz ขึ้นไปจนถึง 457 MHz

  รูปซีพียู AMD K6-2
ซีพียู AMD K6-3
     ซีพียูรุ่นนี้เป็นการนำเอารุ่นเดิมคือ K6-2 มาเพิ่มแคชระดับสองขนาด 256 KB เข้าไปในชิป และเพิ่มความสามารถในการรองรับแคชระดับสามที่อยู่ภายนอก (บนเมนบอร์ด) ได้อีกด้วย ทั้งขนาด 512 KB, 1 MB และ 2 MB ส่วนแคชระดับหนึ่งมี 32 KB แบบสองทาง บัสที่ใช้มีความถี่ 100 MHz ใช้ซ็อคเก็ตแบบ Super 7 และมีชุดคำสั่ง MMX กับ 3Dnow! เช่นเดียวกันกับ K6-2 ความเร็วของซีพียูรุ่นนี้มีเพียง 400 และ 450 MHz เท่านั้น ประสิทธิภาพที่ได้ก็ใกล้เคียงกับ Pentium II ที่ใช้ความถี่เท่ากัน แต่อาจต่ำกว่าเล็กน้อย
  รูปซีพียู AMD K6-3


ซีพียู 
AMD Athlon
        ซีพียู Athlon ของ AMD หรือที่เดิมใช้ชื่อว่า K7 เป็นซีพียูตัวแรกของ AMD ที่ออกมานำหน้า Intel คือมีโครงสร้างที่ล้ำสมัยกว่า และมีความเร็วในทุก ๆ ด้านเหนือกว่าซีพียูรุ่นที่ Intel มีอยู่ในท้องตลาด ณ ขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านของหน่วยประมวลผลเลข floating point ซึ่ง AMD ไม่เคยทำได้เร็วเท่าของ Intel เลย
      แต่คราวนี้ก็ล้ำนำหน้าไปแล้วด้วยเช่นกัน ส่วนราคาก็ยังคงต่ำกว่าของ Intel อยู่เสมอเมื่อเปรียบเทียบกับรุ่นอื่น ๆ รุ่น 500, 550 และ 600 MHz แต่ปัจจุบันได้ไปถึง 850 MHz แล้ว ซึ่ง Athlon รุ่นแรก ๆ จะผลิตโดยเทคโนโลยีการผลิตแบบ 0.25 ไมครอน แต่ในรุ่นหลังซึ่งมีความถี่สูงขึ้นก็ได้ปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการปลิตไปเป็น 0.18 ไมครอน เหมือนกับที่ ใช้ใน Pentium I
   รูปซีพียู AMD Athlon


ซีพียู AMD Duron

       ซีพียู Duron ของ AMD โพรเซสเซอร์ AMD Duron รุ่นใหม่นี้ สนับสนุนระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows XP ทั้งยังประกอบด้วยเทคโนโลยี AMD PowerNow! ซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ นอกจากนั้น ยังให้ประสิทธิภาพที่โดดเด่นในการรันซอฟต์แวร์ชั้นนำที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ด้านมัลติมีเดีย หรือแอพพลิเคชันสำหรับใช้งานในออฟฟิศ   ซีพียู Duron นั้นเร็วกว่า Celeron อยู่ถึง 20-40% ที่สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน
       Duron นั้นใช้การติดต่อของบัสที่มีความกว้างของการถ่ายข้อมูลมากกว่า Celeron ถึง 3 เท่า. ซึ่ง Duron นั้นติดต่อกับระบบในแบบ 100MHz ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ 2 เท่า (double-pumped) ในขณะที่ Celeron นั้นติดต่อที่ 66MHz และเป็นแบบ 'single-pumped'
  รูปซีพียู AMD Duro

ซีพียู (CPU) Intel</title="permanent></h1> <div class="article" style="padding: 0px 10px; margin: 0px 10px 10px; font-size: 14px; color: rgb(60, 60, 60); font-family: tahoma;"> <p style="margin-right: 10px; margin-bottom: 10px; margin-left: 10px; padding: 0px 10px; line-height: 1.7em;"> <span style="padding: 0px; margin: 0px; color: rgb(255, 0, 255);">ซีพียู คืออะไร ?</span>ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะ<span id="more-324" style="padding: 0px; margin: 0px;"></span></p> <p style="margin-right: 10px; margin-bottom: 10px; margin-left: 10px; padding: 0px 10px; line-height: 1.7em;"> <a href="http://buddy2u.com/wp-content/uploads/2010/09/3.jpg" style="padding: 0px; margin: 0px; color: rgb(37, 125, 166);"><img src="http://buddy2u.com/wp-content/uploads/2010/09/3-300x228.jpg" alt="CPU" title="CPU" width="400" height="328" class="aligncenter size-medium wp-image-808" style="padding: 0px; margin: 10px; border: 0px;"></a></p> <p style="margin-right: 10px; margin-bottom: 10px; margin-left: 10px; padding: 0px 10px; line-height: 1.7em;"> เป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น<br style="padding: 0px; margin: 0px;"><span style="padding: 0px; margin: 0px; color: rgb(255, 0, 255);">CPU ทำหน้าที่อะไร</span><br style="padding: 0px; margin: 0px;">CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะเท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี 1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหลผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการคำนวณ ครั้นต่อมาวิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิสเตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่างที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้<br style="padding: 0px; margin: 0px;">สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียูและการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียูก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวลผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32 บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที</p> <p style="margin-right: 10px; margin-bottom: 10px; margin-left: 10px; padding: 0px 10px; line-height: 1.7em;"> <span style="padding: 0px; margin: 0px; color: rgb(255, 0, 255);">กลไกการทำงานของซีพียู</span><br style="padding: 0px; margin: 0px;">การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล<br style="padding: 0px; margin: 0px;">กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น</p> <p style="margin-right: 10px; margin-bottom: 10px; margin-left: 10px; padding: 0px 10px; line-height: 1.7em;"> <span style="padding: 0px; margin: 0px; color: rgb(255, 0, 255);"> ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู</span><br style="padding: 0px; margin: 0px;"> ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I, Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป<br style="padding: 0px; margin: 0px;">คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้</p> <p style="margin-right: 10px; margin-bottom: 10px; margin-left: 10px; padding: 0px 10px; line-height: 1.7em;"> • รีจิสเตอร์<br style="padding: 0px; margin: 0px;">• หน่วยความจำภายนอก<br style="padding: 0px; margin: 0px;">• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)<br style="padding: 0px; margin: 0px;">• บัส<br style="padding: 0px; margin: 0px;">• หน่วยความจำแคช<br style="padding: 0px; margin: 0px;">• Passing Math Operation</p> </div> </td></tr> </tbody></table> <p style="margin-bottom: 1.5em; text-align: start; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> <img class="alignnone size-full wp-image-4560" title="gaming-cpu-hierarchy-chart-intel-amd-march-2012" src="http://www.manacomputers.com/wp-content/uploads/2012/04/gaming-cpu-hierarchy-chart-intel-amd-march-2012.jpg" alt="" width="250" style="margin: 30px; padding: 0px; border: none; outline: 0px; max-width: 100%;"><br>ตื่นเช้ามาวันนี้ พบข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่กำลังต้องการหาซีพียูแรงๆ เพื่อเอาไว้ใช้เล่นเกมส์ เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ <strong style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><span style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; color: rgb(14, 93, 185);">“เปรียบเทียบความแรงซีพียู Intel vs AMD สำหรับเล่นเกมส์”</span></strong> ซึ่งทางมานาคอมพิวเตอร์เลยอยากเอามาแจ้งไว้ให้กับผู้ที่สนใจครับ</p> <p style="margin-bottom: 1.5em; text-align: start; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> สำหรับตารางเปรียบเทียบความแรงซีพียู Intel vs AMD สำหรับเล่นเกมส์นี้ จะเป็นการเปรียบเทียบจากซีพียูที่มีความแรงจากมากไปหาน้อยของแต่ละค่าย และเป็นการเปรียบเทียบของทั้งสองค่ายว่า ความแรงของซีพียูรุ่นไหนที่แรงใกล้เคียงกันบาง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่กำลังมองหาซีพียูใหม่ สามาารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นครับ</p> <p style="margin-bottom: 1.5em; text-align: start; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> ยกตัวอย่างเช่น ซีพียูของ Intel รุ่นเหล่านี้</p> <p style="margin-bottom: 1.5em; text-align: start; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> Core i7-860, -920, -930, -940, -950<br>Core i5-750, -760, -2405S, -2400S<br>Core 2 Extreme QX9775, QX9770, QX9650<br>Core 2 Quad Q9650</p> <p style="margin-bottom: 1.5em; text-align: start; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> </p> <p style="margin-bottom: 1.5em; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> จะมีความแรงพอๆ กับซีพียูของ AMD รุ่นเหล่านี้ครับ</p> <p style="margin-bottom: 1.5em; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> FX-4170<br>Phenom 1100T BE, 1090T BE<br>Phenom II X4 Black Edition 980, 975</p> <p style="margin-bottom: 1.5em; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> โดยข้อมูลเหล่านี้อัพเดทล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคม 2555 นะครับ</p> <div class="table-wrapper" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; line-height: 22.383333206176758px;"> <table class="editorTblTableleft editorTblSize100 editorTblStyleStyle2" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; font-size: 14px; width: 738px; border-collapse: collapse;"><tbody style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"> <tr class="tblEven" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><th colspan="2" style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px; text-align: center;"><span style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; color: rgb(0, 0, 255);">Gaming CPU Hierarchy Chart</span></th></tr> </tbody><tbody style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><th style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px; text-align: center;"><span style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; color: rgb(14, 93, 185);">Intel</span></th><th style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px; text-align: center;"><span style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; color: rgb(0, 128, 0);">AMD</span></th></tr> </tbody><tbody style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"> <tr class="tblEven" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core i7-2600, -2600K, -2700K, -3820, -3930K, -3960X<br>Core i7-965, -975 Extreme, -980X Extreme, -990X Extreme<br>Core i5-2550K, -2500K, -2500, -2450P, -2400, -2380P, -2320, -2310, -2300</td><td bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;"></td></tr> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core i7-980, -970, -960<br>Core i7-870, -875K<br>Core i3-2100, -2105, -2120, -2125, -2130</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;"></td></tr> <tr class="tblEven" bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core i7-860, -920, -930, -940, -950<br>Core i5-750, -760, -2405S, -2400S<br>Core 2 Extreme QX9775, QX9770, QX9650<br>Core 2 Quad Q9650</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">FX-4170<br>Phenom 1100T BE, 1090T BE<br>Phenom II X4 Black Edition 980, 975</td></tr> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Extreme QX6850, QX6800<br>Core 2 Quad Q9550, Q9450, Q9400<br>Core i5-650, -655K, -660, -661, -670, -680<br>Core i3-2100T, -2120T</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">FX-8150, -6200<br>Phenom II X6 1075T<br>Phenom II X4 Black Edition 970, 965, 955</td></tr> <tr class="tblEven" bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Extreme QX6700<br>Core 2 Quad Q6700, Q9300, Q8400, Q6600, Q8300<br>Core 2 Duo E8600, E8500, E8400, E7600<br>Core i3 -530, -540, -550<br>Pentium G860, G850, G840, G630</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">FX-8120, -6100, -4100<br>Phenom II X6 1055T, 1045T<br>Phenom II X4 945, 940, 920, 910, 910e, 810<br>Phenom II X3 Black Edition 720, 740<br>A8-3850, -3870K<br>A6-3650, -3670K<br>Athlon II X4 645, 640, 635, 630<br>Athlon II X3 460, 455, 450, 445, 440, 435</td></tr> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Extreme X6800<br>Core 2 Quad Q8200<br>Core 2 Duo E8300, E8200, E8190, E7500, E7400, E6850, E6750<br>Pentium G620<br>Celeron G540, G530</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Phenom II X4 905e, 805<br>Phenom II X3 710, 705e<br>Phenom II X2 565 BE, 560 BE, 555 BE, 550 BE, 545<br>Phenom X4 9950<br>Athlon II X4 620, 631<br>Athlon II X3 425</td></tr> <tr class="tblEven" bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Duo E7200, E6550, E7300, E6540, E6700<br>Pentium Dual-Core E5700, E5800, E6300, E6500, E6600, E6700<br>Pentium G9650</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Phenom X4 9850, 9750, 9650, 9600<br>Phenom X3 8850, 8750<br>Athlon II X2 265, 260, 255<br>Athlon 64 X2 6400+</td></tr> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Duo E4700, E4600, E6600, E4500, E6420<br>Pentium Dual-Core E5400, E5300, E5200, G620T</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Phenom X4 9500, 9550, 9450e, 9350e<br>Phenom X3 8650, 8600, 8550, 8450e, 8450, 8400, 8250e<br>A4-3400<br>Athlon II X2 240, 245, 250<br>Athlon X2 7850, 7750<br>Athlon 64 X2 6000+, 5600+</td></tr> <tr class="tblEven" bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Duo E4400, E4300, E6400, E6320<br>Celeron E3300</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Phenom X4 9150e, 9100e<br>Athlon X2 7550, 7450, 5050e, 4850e/b<br>Athlon 64 X2 5400+, 5200+, 5000+, 4800+</td></tr> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Core 2 Duo E5500, E6300<br>Pentium Dual-Core E2220, E2200, E2210<br>Celeron E3200</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Athlon X2 6550, 6500, 4450e/b,<br>Athlon X2 4600+, 4400+, 4200+, BE-2400</td></tr> <tr class="tblEven" bgcolor="#CCCCCC" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Pentium Dual-Core E2180<br>Celeron E1600, G440</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Athlon 64 X2 4000+, 3800+<br>Athlon X2 4050e, BE-2300</td></tr> <tr class="tblRow" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;">Pentium Dual-Core E2160, E2140<br>Celeron E1500, E1400, E1200</td><td style="margin: 0px; padding: 6px; border-width: 0px 0px 1px; border-bottom-style: dotted; border-bottom-color: rgb(204, 204, 204); outline: 0px;"></td></tr> </tbody></table> <p style="margin-bottom: 1.5em; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px;"> ขอขอบคุณข้อมูลจาก <a href="http://www.tomshardware.com/reviews/gaming-cpu-review-overclock,3106-5.html" style="margin: 0px; padding: 0px; border: 0px; outline: 0px; text-decoration: initial; color: rgb(34, 122, 209);">www.tomshardware.com</a></p> </div>